TB in Pregnancy

บทความในอดีต

วัณโรคในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
Tuberculosis in Pregnancy and Breast Feeding

บททบทวนวารสาร
Review Article

ปีที่ 30 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2552
PDF

วรางคณา กีรติชนานนท์ พ.บ.
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในปัจจุบันการติดเชื้อวัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญและพบบ่อยในประชากรทั่วโลก การติดเชื้อนี้สามารถเกิดได้ทั้งในคนทั่วไป รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร การติดเชื้อวัณโรคในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรถือว่าเป็นภาวะที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องรีบทําการวินิจฉัยยืนยันและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เนื่องจากการให้การรักษาที่ล่าช้าจะส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมและความผิดปกติของทารกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยารักษาวัณโรคที่ต้องมีข้อพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจส่งผลถึงทารกในครรภ์และยังมีข้อมูลว่าสามารถขับ ออกทางน้ํานมได้

Read More

Research in ICU

บทความในอดีต

บทบรรณาธิการ: การวิจัยในหอผู้ป่วยวิกฤต

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2546
PDF

วิชาแพทย์นั้นเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) ในส่วนที่เป็นศาสตร์นั้น ประกอบด้วยหลักการ (principle) และกฎเกณฑ์ที่แน่ชัด และมีความแม่นยําสูง ในขณะที่ส่วนที่เป็นศิลป์นั้น จะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ยกตัวอย่างการปฏิบัติรักษาที่ทํากันในหอผู้ป่วยวิกฤต เช่น การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (weaning) จะเห็นได้ว่า มีความหลากหลายอย่างมากในวิธีการปฏิบัติ แพทย์แต่ละท่าน มีวิธีการหย่าเครื่องที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่แพทย์ท่านเดียวกันเองก็อาจมีวิธีการหย่าเครื่องต่างกันในผู้ป่วย แต่ละคน การตัดสินใจเลือกวิธีการปฏิบัติ ตลอดจนการกําหนดระยะเวลาของการหย่าเครื่องในแต่ละขั้นตอน ส่วนหนึ่งจะมีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการรองรับ แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งมีจํานวนไม่น้อยที่อาศัยการคาดคะเนจากประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน

Read More

Global warming

บทความในอดีต

ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพ

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

บทบรรณาธิการ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2553

PDF

ในช่วงหลายปีหลังนี้ เป็นที่สังเกตว่าโลกที่เราอาศัยนี้ ร้อนขึ้นอย่างชัดเจน สภาพภูมิอากาศมีความผันแปรเป็นอย่างสูง ประเทศไทยในบางช่วงเหมือนกับมีถึง 3 ฤดูกาลในเดือนเดียว ผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าวต่อสุขภาพของมนุษย์จะเป็นเช่นไร เป็นคําถามที่น่าสนใจ ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพไว้ดังนี้

Read More

ในหลวงกับงานป้องกันและรักษาโรคปอด

*บทความนี้ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารวัณโรคและโรคทรวงอก ในปี พ.ศ. 2539
ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานป้องกันและรักษาโรคปอด

สงคราม  ทรัพย์เจริญ พ.บ., พ.ด. (กิตติมศักดิ์)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชสนพระราชหฤทัยและมีบทบาทสำคัญยิ่งต่องานสาธารณสุขของชาติ รวมทั้งงานป้องกันและรักษาโรคปอด มาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี ตั้งแต่ยังมิได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ โดยเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชของพระบามสมเด็จอพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านทรงทราบว่าชาวไทยเป็นวัณโรคกันมาก อีกทั้งไม่มีความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและขาดแคลนยารักษาโรค จึงพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น” ซึ่งเป็นเพลงแรกที่พระราชทานให้วงดนตรีนำไปบรรเลงในงานแสดงดนตรีการกุศลเพื่อหารายได้สมทบทุนช่วยเหลือโครงการรณรงค์ต่อต้านวัณโรคแห่งชาติของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับพระราชทานแบบจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผลงานฝีพระหัตถ์ออกประมูลในงานเดียวกัน เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการต่อต้านโรคร้ายดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และได้ทรวงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือกิจกรรมต่อต้านวัณโรคเสมอมา

Read More

สมาคมปราบวัณโรคฯ

บทความในอดีต

บทบาทของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

บัญญัติ  ปริชญานนท์ พ.บ.
สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

บทบาทของสมาคมปราบวัณโรคฯ กล่าวโดยทั่วไปก็เป็นองค์การอาสาสมัครที่ทำหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลในการรณรงค์ต่อต้านวัณโรค

Read More

Quiz 1

บทความในอดีต

Pulmonary Quiz 1

พิชญา เพชรบรม

วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2553
PDF

ประวัติ

ชายไทยคู่อายุ 30 ปี ภูมิลำเนา จ. เชียงราย อาชีพ รับจ้างทำสวนดอกรักที่ จ. สมุทรสาคร
อาการสำคัญ: ไอเป็นเลือด 2 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติปัจจุบัน: 10 เดือนก่อน ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณชายโครงขวา ไอเสมหะสีเหลืองข้นมีเลือดปนสีน้ำตาลเล็กน้อย มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 4 กก. มีอาการอยู่ 1 เดือน มาตรวจที่โรงพยาบาลพบ right pleural effusion แพทย์ได้ตรวจ ultrasonography พบว่า pleural effusion มีปริมาณน้อย ไม่สามารถทำ thoracentesis ได้ ให้การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็น tuberculous pleuritis ให้การรักษาด้วยยาต้านวัณโรค 2HRZE/4HR หลังได้ยาอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่ยังไอมีเสมหะสีเหลือง
2 สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยไอเป็นเลือดเก่าๆ สีน้ำตาล 1 แก้วน้ำ ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อยหอบ น้ำหนักลดลง 3 กก. ต่อมายังไอมีเลือดเก่าๆ ปริมาณไม่มากปนเสมหะสีเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะปกติดี
ประวัติอดีต: เดิมแข็งแรงดี ไม่เคยเจ็บป่วยรุนแรง
ประวัติส่วนตัว: ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรานานๆ ครั้ง
ประวัติครอบครัว: แต่งงานแล้วมีบุตร 2 คน ไม่มีคนในครอบครัวมีอาการเหมือนผู้ป่วย

Read More

ประวัติสมาคมฯ

บทความในอดีต

เนื้อหาของบทความนี้นำมาจากวารสารฉบับปฐมฤกษ์
วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2523

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

สงคราม  ทรัพย์เจริญ พ.บ., M.P.H., F.C.C.P.
เลขาธิการสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานอาสาสมัครด้านการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย ซึ่งมีประวัติการริเริ่มก่อตั้งและดำเนินการสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยได้รับความสนับสนุนร่วมมือด้วยดีจากท่านผู้มีอุปการะคุณต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งจากวงการของรัฐและภาคเอกชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้สมาคมมีหลักฐานมั่นคง สามารถดำเนินการให้ความร่วมมือเคียงข้างกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับในการต่อต้านปราบปรามวัณโรคอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะได้กล่าวถึงประวัติการริเริ่มก่อตั้งและความเป็นมา รวมทั้งการดำเนินงานของสมาคมไว้ในโอกาสนี้ ซึ่งเป็นวาระที่วารสารวัณโรคและโรคทรวงอกจะได้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นฉบับปฐมฤกษ์

Read More