CPAP clinic during covid-19 pandemic

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

บทบาทของนักตรวจการนอนหลับ ในด้านการให้บริการ CPAP Clinic จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

กุสุมา มามณี วท.บ.
ธวัชชัย แพนอุชชวัน วท.ม.
ภคณัช พรมเคียมอ่อน วท.บ.

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้จัดตั้งคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP Clinic) ให้การบริการเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure, CPAP) ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติที่สัมพันธ์กับการหลับ (sleep-related breathing disorders) โดยอุบัติการณ์ (incidence) ที่พบมากเป็นผู้ป่วยที่มีการกรน (snoring) และ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) แต่เนื่องด้วยช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ต่างไปจากวิถีเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานพยาบาลจำเป็นต้องมี มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้เล็งเห็นความสำคัญ นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ภายใต้มาตรฐานการบริการที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการติดเชื้อให้แก่ผู้รับบริการ บทความนี้จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงบทบาทของนักตรวจการนอนหลับในการให้บริการ CPAP Clinic ในรูปแบบใหม่

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19  พบผู้คนเจ็บป่วย เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สร้างความสูญเสียให้กับสังคมโลก ผู้คนต้องปรับตัวหาสิ่งป้องกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำว่า New Normal จึงเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาในสังคม ราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมาย New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ ที่คนในสังคมคุ้นเคย อย่างเป็นปกติ และเคยคาดหมาย ล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย 1

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช นอกจากมีการให้บริการ การตรวจการนอนหลับอย่างครบวงจรแล้ว ยังมีบริการคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “Continuous Positive Airway Pressure: (CPAP)”2  ให้บริการยืม-คืน CPAP และอุปกรณ์, ถอดข้อมูล CPAP เพื่ออ่านผล, ซื้ออุปกรณ์, ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน, ตลอดจนการซ่อมบำรุง  ซึ่งมีผู้ป่วยมารับบริการมากกว่า 70 คนต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการหลักกับการบริการทางการแพทย์ ปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การให้บริการที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้มาใช้บริการ

Read More

New normal in spirometry

PDF

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

ความปกติใหม่ในการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรี
New Normal in Spirometric Procedures

สิมาพร พรมสาร วท.บ.
ภัทรพันธุ์ เลิศฤทธิ์วิมานแมน พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ที่องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้รับทราบและแจ้งถึงกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Disease 2019, COVID-19) ที่ได้แพร่ระบาดไปยังทั่วโลก1  มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 794,1791 คน2  ผู้เสียชีวิตมากกว่า 434,796 คน2  ในประเทศไทยได้เริ่มมีการแพร่ระบาดโดยแจ้งพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 25633  ผู้เสียชีวิตรายแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 25634 และการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านทางฝอยละออง5  ทางจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อ จากการไอ จาม หรือหายใจ โดยสามารถรับเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุเหล่านั้นที่มีเชื้อแล้วมาสัมผัสตา จมูกหรือปาก และการรับเชื้อโดยตรงจากการหายใจเอาฝอยละอองของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการหายใจ5

จากลักษณะและวิธีการของหัตถการ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของผู้รับการตรวจ ทำให้การตรวจสมรรถภาพปอดเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายของเชื้อในระดับที่ทำให้เกิดละอองลอย (Aerosol generating procedures, AGPs) และไม่ทำให้เกิดละอองลอย (Non-aerosol generating procedures, Non-AGPs) ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ ผู้รับการตรวจ รวมถึงผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มาทำการรักษาในโรงพยาบาล5 ที่อาจได้รับเชื้อดังกล่าวในระหว่างการตรวจโดยตรงและสัมผัสใกล้ชิด6  ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงควรทำในกรณีที่สำคัญหรือเพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจในการรักษาอย่างเร่งด่วนเท่านั้น7-8  โดยหากจำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพปอด ควรคำนึงถึงการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ดังต่อไปนี้

Read More

MDRTB

PDF

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

โครงการประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB), ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง (pre XDR-TB) และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่รักษายาก (difficult to treat MDR-TB) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาด้วยสูตรยารายการใหม่ ปีงบประมาณ 2559-2561

ผลิน กมลวัทน์ พ.บ.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ปี พ.ศ. 2561 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยแบ่งยาในการรักษาเป็น 3 กลุ่ม การรักษาใช้ยารักษาตัวใหม่และสูตรยาใหม่เพื่อเพิ่มอัตราการหายและลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรค เช่น bedaquiline, delamanid หรือนำยาที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคอื่นมาใช้ (off-label use) เช่น linezolid, clofazimine  การใช้ยาต้องมีระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาเชิงรุก (active drug safety monitoring and management: aDSM)การศึกษานี้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
ผลการศึกษา พบว่าปีงบประมาณ 2559-2561 มีผู้ป่วย XDR-TB/preXDR-TB/difficult to treat MDR-TB ทั้งหมด 56 ราย ผู้ป่วยที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 37 ราย (ร้อยละ 66.1) มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 32.1) โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือเบาหวาน 25 ราย (ร้อยละ 86.2) และแบ่งประเภทผู้ป่วยตามผลการทดสอบความไวต่อยาคือผู้ป่วย XDR-TB 30 ราย (ร้อยละ 51.9), ผู้ป่วย pre XDR-TB จำนวน 22 ราย (ร้อยละ 40.7) และผู้ป่วย difficult to treat MDR-TB จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 7.4) ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 56 ราย สูตรยาที่ใช้ในการรักษามากที่สุดคือสูตร: 6Cm-Bdq-Mfx-Lzd-Cfz/14-18 Mfx-Lzd-Cfz 34 ราย (ร้อยละ 60.7), รองลงมาคือสูตร: 6Cm-Bdq-Lzd-Cfz/14-18 Lzd-Cfz 10 ราย      (ร้อยละ 17.1) จากการรักษาพบว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด คือมีค่า creatinine ในเลือดสูง 31 ราย (ร้อยละ 57.4) รองลงมา คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน พบ 25 ราย (ร้อยละ 46.3) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (QT prolong/abnormal EKG) 14 ราย (ร้อยละ 25.9) อัตราผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในปีงบประมาณ 2559, 2560 และ 2561 คือ ร้อยละ 75.0, 81.3 และ 87.5 ตามลำดับ และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการดื้อยาของผู้ป่วยกับผลการรักษาของผู้ป่วยในแต่ละประเภท พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05)
ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว ควรมีการประเมินติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 6 และ 12 เดือนหลังการรักษาหาย การรักษาวัณโรคดื้อยาต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน และอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์6  ดังนั้นระบบการให้คำปรึกษาให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรคและการรักษารวมทั้งการใช้ยาเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดความร่วมมือของผู้ป่วย รวมทั้งเพิ่มอัตราการรักษาหายมากขึ้น

Read More

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More

Research in ICU

บทความในอดีต

บทบรรณาธิการ: การวิจัยในหอผู้ป่วยวิกฤต

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2546
PDF

วิชาแพทย์นั้นเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) ในส่วนที่เป็นศาสตร์นั้น ประกอบด้วยหลักการ (principle) และกฎเกณฑ์ที่แน่ชัด และมีความแม่นยําสูง ในขณะที่ส่วนที่เป็นศิลป์นั้น จะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ยกตัวอย่างการปฏิบัติรักษาที่ทํากันในหอผู้ป่วยวิกฤต เช่น การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (weaning) จะเห็นได้ว่า มีความหลากหลายอย่างมากในวิธีการปฏิบัติ แพทย์แต่ละท่าน มีวิธีการหย่าเครื่องที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่แพทย์ท่านเดียวกันเองก็อาจมีวิธีการหย่าเครื่องต่างกันในผู้ป่วย แต่ละคน การตัดสินใจเลือกวิธีการปฏิบัติ ตลอดจนการกําหนดระยะเวลาของการหย่าเครื่องในแต่ละขั้นตอน ส่วนหนึ่งจะมีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการรองรับ แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งมีจํานวนไม่น้อยที่อาศัยการคาดคะเนจากประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน

Read More

Bronchoscopy

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) และบทบาทของบุคลากรผู้ช่วยแพทย์

มนฤทัย เด่นดวง พย.บ.
ห้องหัตถการวินิจฉัย สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อุรเวชช์ปฏิบัติ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560
PDF

บทนํา

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) เป็นการส่องกล้องเข้าไปในหลอดลมโดยผ่านทางจมูกหรือปากของผู้ที่ได้รับการตรวจ มีข้อบ่งชี้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคของระบบการหายใจ ปัจจุบันกล้องสําหรับการส่องตรวจหลอดลมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ flexible bronchoscope (รูปที่ 1) และ rigid bronchoscope (รูปที่ 2) แพทย์อายุรกรรมโรคระบบการหายใจส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยใช้ flexible bronchoscope ทั้งเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยสามารถให้ยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่และระดับปานกลาง (conscious sedation) ได้ ส่วนการส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope นั้น มีข้อดีคือแพทย์สามารถทําหัตถการที่ซับซ้อนได้มากกว่า เช่น การนําก้อนเนื้อออกจากหลอดลม (tumor removal), การใส่ท่อหลอดลม (airway stent) เป็นต้น และแพทย์สามารถเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและช่วยหายใจขณะทําหัตถการได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope ทําได้ยากกว่าเนื่องจากต้องใช้ความชํานาญ และประสบการณ์ และเนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการดมยาสลบ จึงทําให้สามารถทําได้ในบางสถาบันเท่านั้น

Read More

Inhaler Device

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้ยาสูด

ดุษญา วนิชเวทย์พิบูล ภ.บ.

บททบทวนวารสาร
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีท่ี 37 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561
PDF

บทนำ

ยาสูด จัดเป็นยาเทคนิคพิเศษที่มีวิธีใช้เฉพาะ หรือต้องมีทักษะในการใช้ โดยในปัจจุบันได้มีการนำยาสูดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งชนิดที่เป็นยาขยายหลอดลม สำหรับบรรเทาอาการ และยาลดการอักเสบของหลอดลม ซึ่งยาประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยที่จะสามารถใช้ยาสูดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม[1] อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลจากหลายการศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีปัญหาในด้านเทคนิคการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง[2,3] ส่งผลให้ยาเข้าถึงตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี และมีผลต่อการควบคุมโรคและประสิทธิภาพการรักษา โดยพบว่าสามารถทำให้เกิดการรักษาล้มเหลวและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น[4,5] ดังนั้น การเข้าใจเทคนิควิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและให้คำแนะนำที่เพียงพอเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ยาสูด จะสามารถทำให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น

Read More

GLI 2012

The Quest for the Standard: Global Lung Initiative (GLI) 2012

บทความพิเศษ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2561

PDF

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

บทนำ

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และ ประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ การแปลผลค่าที่ได้จากการตรวจ spirometry ว่าปกติหรือผิดปกตินั้นต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับค่าปกติในประชากรทั่วไป เช่นเดียวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ค่าปกติหรือค่ามาตรฐานของการตรวจ spirometry นั้นจะแปรผันตามปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ชาติพันธุ์ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัยที่ได้จากการสำรวจในแต่ละเชื้อชาติ การศึกษาส่วนใหญ่ทำในประชากรทางตะวันตกซึ่งเป็นคอเคเซียน เช่น สมการของ European Community for Steel and Coal (ECCS)[1], Crapo[2], NHANES III[3] เป็นต้น สำหรับการศึกษาในประชากรในแถบอื่นมีน้อย ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นมองโกลอยด์นั้น มีสมการของ Lam และคณะ[4] ที่ทำการสำรวจในประชากรชาวฮ่องกงในปี พ.ศ. 2525

Read More