COVID-19 Siriraj Experience

PDF

บทความพิเศษ
Special Article

ประสบการณ์ของศิริราชในการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก

นิธิพัฒน์  เจียรกุล พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค      ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่นานนักประเทศไทยที่เป็นเป้าหมายหลักหนึ่งของนักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หลังจากนั้นจึงค่อยมีการระบาดไปอย่างช้าๆ ภายใต้การควบคุมอย่างดีของกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งมีการระบาดอย่างรวดเร็วในระลอกแรกในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในชื่อใหม่ คือ “โควิด-19” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

SARS-CoV-2

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความใกล้เคียงของลักษณะทางพันธุกรรมกับเชื้อ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อสิบกว่าปีก่อน1 เชื้อนี้มี reservoir host คือ ค้างคาว โดยมีตัวนิ่มเป็น intermediate host 2 ในการเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นไวรัสนี้จะใช้ส่วน spike (S) protein จับกับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor3 นอกจากนี้ยังมีบทบาทของขั้นตอนอื่นในพยาธิกำเนิดของโรคที่มีความสำคัญในการค้นหาวิถีทางรักษาโรคนี้ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ endocytosis โดยอาศัย AP-2-associated protein kinase 1 (AAK1) หรือ กระบวนการ replication โดยใช้ RNA-dependent RNA polymerase (RDRp)4

ปรากฏการณ์หนึ่งที่พบในระหว่างการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คือ cytokine storm ซึ่งพบได้เช่นเดียวกับในผู้ป่วยโรคซาร์สและโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในช่วงการระบาดแรกๆ โดยเกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยบางรายในระยะหลังที่กำลังฟื้นตัวจากโรค และเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของการเกิด ARDS และ multiple organ dysfunction ที่ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี เชื่อว่าเกิดจาก CD4+T cells ที่ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จึงหลั่ง GM-CSF และ inflammatory cytokine อื่น ซึ่งจะไปกระตุ้น dendritic cell และ macrophage ทำให้มี high expression ของ IL-6 และ inflammatory biomarker อื่น5  

Read More