Smear positive TB

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

PDF

แนวโน้มอัตราผู้ป่วยวัณโรคที่เสมหะตรวจพบเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา
ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปี 2554-2560

สุพิศ  โพธิ์ขาว วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)

กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของการสาธารณสุขในประเทศไทย นับวันการแพร่เชื้อยิ่งทวีความรุนแรง ทำให้ลุกลามออกเป็นวงกว้าง เป็นผลให้ยับยั้งยาก การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยการตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ นำพาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน คือ การป้องกันและการลดการแพร่กระจายเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อAFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมุดทะเบียนวัณโรค (TB04), โปรแกรม MLAB2000 และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วย ตาราง กราฟ และแผนภูมิผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 อัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.95 เป็นร้อยละ 11.18 และร้อยละ 11.28 ส่วนในระหว่างปีงบประมาณ 2557 ถึง 2559 อัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 10.90 เป็นร้อยละ 10.16 และร้อยละ 9.10 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2560 อัตราผู้ป่วยกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.45 พร้อมยังพบว่าอัตราผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิงในทุกปีงบประมาณ โดยที่อัตราผู้ป่วยเพศชายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราผู้ป่วยเพศหญิงมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผู้ป่วยช่วงอายุ 35-44 ปี มีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ รองลงมาคือช่วงอายุ 54 ปีขึ้นไป และช่วงอายุ 25-34 ปี ตามลำดับอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดาในแต่ละปีงบประมาณไม่แตกต่างกันมากนัก โดยแต่ละปีงบประมาณพบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 9-11 โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนไทย   เพศชายต่อหญิงประมาณ 2.5 : 1 ส่วนผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว เพศชายต่อหญิงประมาณ1.2 : 1 อนึ่ง ช่วงอายุของผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB สูงสุดคือช่วงอายุ 25-44 ปี แต่ก็พบแนวโน้มการตรวจพบเชื้อ AFB เพิ่มขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

Read More

Sarcoidosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Pulmonary Sarcoidosis

Patcharin Harnthanakul, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis,
Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Introduction

Sarcoidosis is a granulomatous disease that affects a variety of populations.1 It was first described in 1869 by Jonathan Hutchinson, a British dermatologist who defined a 58-year-old coal wharf worker with purple, symmetrical skin plaques on legs and hands that were not painful. In 1897, a Norwegian dermatologist, Caesar Boeck, presented a patient with “multiple benign sarcoid of the skin” which histologically showed well-defined foci of epithelioid cells with giant cells2. Although, nearly 150 years later, the etiology of sarcoidosis remains unknown and the course of the disease is unpredictable. The immune pathogenesis involves a complex interaction between host, genetic factors and environmental or infectious triggers which produces granuloma formation. The disease can affect any organs but mostly involves the lungs and lymph nodes. The disease has a wide range of clinical manifestations, varies from asymptomatic patients with radiographic abnormalities to progressive disease causing morbidity and mortality. Treatment depends on the severity of the disease and organ involvement. This review summarizes the pathogenesis, clinical manifestation, pathological and radiological features, and management focusing on pulmonary sarcoidosis.

Read More

Pleural catheter

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

สายระบายทรวงอกชนิดฝังใต้ผิวหนัง 
(Tunneled pleural catheters)

สรายุทธ เอี่ยมสอาด พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ.

*แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

Tunneled pleural catheter (TPC) หรือ indwelling pleural catheter (IPC) คือ สายระบายทรวงอกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใส่คาไว้ได้เป็นเวลานาน ประโยชน์ที่สำคัญของการใส่สาย TPC นี้ คือช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและสามารถใส่แบบผู้ป่วยนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ปัจจุบันมีคำแนะนำในการใส่สาย TPC ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทั้งที่มีสาเหตุจากมะเร็งแพร่กระจายและไม่ใช่มะเร็งซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาจำเพาะ นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากด้วย

Read More

ILD in IIM

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Interstitial Lung Diseases in the Idiopathic Inflammatory Myopathies

Intira Masayavanich, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis
Department of Medicine
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Mahidol University

Introduction

Idiopathic inflammatory myopathies or myositis (IIM) are heterogeneous disorders characterized by varying degrees of muscle weakness and inflammation[1]. Lungs are the most common extramuscular involvement in IIM including respiratory muscle weakness, pulmonary hypertension, interstitial lung disease, and pleural effusion[2-3]. Interstitial lung disease (ILD) is the hallmark of pulmonary involvement that causes significant morbidity and mortality[2].

Read More

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More