ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 | Volume 39 Issue 3

นิพนธ์ต้นฉบับ/Original Article

ผลของการใช้ออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูงในการลดภาวะพร่องออกซิเจน ระหว่างการส่องกล้องตรวจปอดและหลอดลม ที่ต้องทำหัตถการมากกว่า 1 ชนิด
ดาวรุ่ง ศิลาจำรูญ
ณับผลิกา กองพลพรม
ลาวรรณ สรสิทธิ์รุ่งสกุล
ขวัญเรือน วงษ์มณี

PDF

ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตใน 48 ชั่วโมงของผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชนในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ชลาลัย คล้ายพิมพ์
PDF

บททบทวนวารสาร/Review Article

Pulmonary Langerhans Cell Histiocytosis
Siwadol Sunhapanit
Full text | PDF

เวชปฏิบัติ/Clinical Practice

บทบาทของนักตรวจการนอนหลับ ในด้านการให้บริการ CPAP Clinic จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
กุสุมา มามณี
ธวัชชัย แพนอุชชวัน
ภคณัช พรมเคียมอ่อน
Full text | PDF

รายงานผู้ป่วย/Case Report

Iron deficiency anemia in a patient with active pulmonary tuberculosis: a case report
สมชาย อินทรศิริพงษ์
วัฒนะ อินทรศิริพงษ์

PDF

ดรรชนี/Index

PDF



ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 Volume 39 Issue 2

บทความพิเศษ/Special Article

ประสบการณ์ของศิริราชในการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก
นิธิพัฒน์ เจียรกุล
Full text | PDF

นิพนธ์ต้นฉบับ/Original Article

โครงการประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง (pre XDR-TB) และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่รักษายาก (difficult to treat MDR-TB) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาด้วยสูตรยารายการใหม่ ปีงบประมาณ 2559-2561
ผลิน กมลวัทน์
Full text | PDF

บททบทวนวารสาร/Review Article

การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร ด้วยกล้องส่องทางเดินหายใจ (Transesophageal Endoscopic Ultrasound with Convex Probe Endobronchial Ultrasound Scope, EUS-B)
กุลชาติ เอกภูมิมาศ
พันเอกวิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย
พลตรีอนันต์ วัฒนธรรม

Full text | PDF

ภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อค้ำยันหลอดลม (Complications of Airway Stents)
นาฎวิภา ยวงตระกูล
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา

Full text | PDF

เวชปฏิบัติ/Clinical Practice

ความปกติใหม่ในการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรี (New Normal in Spirometric Procedures)
สิมาพร พรมสาร
ภัทรพันธ์ เลิศฤทธิ์วิมานแมน

Full text | PDF



สำหรับผู้นิพนธ์

ข้อแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ยินดีรับพิจารณานิพนธ์ต้นฉบับ รายงานวิจัย รายงานผู้ป่วย บททบทวนวารสาร และงานเขียนวิชาการในลักษณะอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ความรู้ ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมความก้าวหน้า ความร่วมมือทางวิชาการของบรรดาแพทย์และ บุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความสนใจในสาขาวิชานี้
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการตีพิมพ์บทความของท่าน คณะบรรณาธิการขอเรียนแนะนำ การเตรียมต้นฉบับสำหรับวารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ดังนี้

รูปแบบของต้นฉบับ

โปรดสละเวลาพลิกดูการจัดรูปหน้ากระดาษจากบทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารฉบับนี้ และกรุณาถือเป็นตัวแบบในการพิมพ์ต้นฉบับของท่าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน หน้าแรกของบทความทุกประเภท ซึ่งวารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ต้องการรักษาไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะบางประการ เกี่ยวกับรูปแบบการเรียงพิมพ์ชื่อเรื่อง บทความ ชื่อผู้นิพนธ์ วุฒิของผู้นิพนธ์ สถาบันในสังกัดของผู้นิพนธ์ และบทคัดย่อ สำหรับกระดาษพิมพ์ดีด อาจเป็นกระดาษพิมพ์สั้นหรือยาวก็ได้ โดยควรพิมพ์หน้าเดียว และควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษพิมพ์

องค์ประกอบของต้นฉบับ

ต้นฉบับทุกประเภทควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ เรียงลำดับดังนี้

ชื่อเรื่อง

ควรให้สั้นและบ่งบอกถึงขอบเขตของเนื้อเรื่องได้ชัดเจน ถ้าต้นฉบับเป็นผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุนหรือ เคยบรรยายในที่ประชุมวิชาการมาก่อน อาจใส่เครื่องหมายดอกจันกำกับที่อักษรตัวสุดท้ายของชื่อเรื่องนั้นๆ และให้แจ้งความเป็นมาไว้ ที่เชิงอรรถท้ายหน้ากระดาษแผ่นแรกของต้นฉบับ

ชื่อผู้นิพนธ์ วุฒิ สถาบันในสังกัด

ใส่ชื่อและสกุล ของผู้นิพนธ์ตามปกติพร้อมด้วยปริญญาหรือคุณวุฒิการศึกษาไม่เกิน 3 อภิไธย ในบรรทัดถัดไปให้ระบุชื่อหน่วยงานในสังกัดของผู้นิพนธ์ ถ้าต้นฉบับเป็นผลงานของคณะบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน ให้ใส่เครื่องหมายดอกจันกำกับความแตกต่างไว้ที่อภิไธยของผู้ร่วมนิพนธ์แต่ละคน แล้วจึงระบุหน่วยงานในสังกัดของบุคคลเหล่านั้นในบรรทัดถัดไป

บทคัดย่อ

ต้นฉบับที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วยทุกประเภท จำเป็นต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้พิมพ์คัดย่อภาษาไทยก่อน แล้วจึงตามด้วย abstract ในกรณีที่นิพนธ์ต้นฉบับหรือรายงานผู้ป่วยเป็นต้นฉบับภาษาไทย ไม่ต้องระบุชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อเรื่อง และสถาบันต้นสังกัดไว้ ในบทคัดย่อภาษาไทย แต่ให้ระบุชื่อเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษไว้ใน abstract ในกรณีที่นิพนธ์ต้นฉบับหรือรายงานผู้ป่วยเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ ให้ระบุชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อเรื่อง และสถาบันในสังกัดไว้ ในบทคัดย่อภาษาไทย แต่ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษไว้ใน abstract สำหรับต้นฉบับในลักษณะอื่นๆ เช่น บทความพิเศษ บททบทวนวารสาร บันทึกเวชกรรม ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องมีบทคัดย่อ

เนื้อเรื่อง

ในกรณีของนิพนธ์ต้นฉบับควรมีขั้นตอน ในการนำเสนอเนื้อเรื่องตามลำดับคือ บทนำ วัสดุและวิธีการ ผล วิจารณ์ สรุป สำหรับต้นฉบับประเภทอื่นๆ ผู้นิพนธ์อาจพิจารณาจัดลำดับหัวข้อในการนำเสนอเนื้อเรื่องได้เองตามความเหมาะสม สำหรับต้นฉบับทุกประเภทที่่เป็นภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ควรให้ความรอบคอบเป็นพิเศษกับการใช้หลักไวยากรณ์ และควรพิสูจน์อักษรทุกตัวในต้นฉบับก่อนที่จะส่งต้นฉบับนั้นไปให้คณะบรรณาธิการ สำหรับต้นฉบับที่เป็นภาษาไทย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น ศัพท์แพทย์ภาษาต่างประเทศที่มีผู้บัญญัติเป็นภาษาไทยและใช้กันแพร่หลายแล้ว ขอให้ พยายามใช้ภาษาไทย โดยอาจใส่ภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บเมื่อใช้ครั้งแรก แต่ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงภาษาต่างประเทศ อีกในการใช้ครั้งต่อๆ ไป หากมีตาราง แผนภูมิ สไลด์ และรูปภาพ คำบรรยายตาราง แผนภูมิ และรูปภาพให้พิมพ์ไว้ด้านบนหรือด้านล่างของตาราง หรือ แผนภูมิ หรือรูปภาพเหล่านั้น

กิตติกรรมประกาศ

หากผู้นิพนธ์ต้องการบันทึก คำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือสถาบันใดไว้ในต้นฉบับก็อาจกระทำได้โดยขอให้ใช้ข้อความที่กะทัดรัดพอสมควร

เอกสารอ้างอิง

ต้นฉบับทุกประเภทจะต้องอ้างอิง เอกสารที่ใช้ประกอบการเขียน (ยกเว้น บทความพิเศษและ บทบรรณาธิการ) ถ้าข้อความในเนื้อเรื่องนำมาจากผู้แต่งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะให้กำกับการอ้างอิงไว้ด้วยหมายเลขเรียงตามลำดับ โดยให้หมายเลขที่กำกับในรายชื่อเอกสารอ้างอิงตรงกันกับหมายเลข ในเนื้อเรื่องด้วย การอ้างอิงเอกสารให้ใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver) และการย่อวารสารให้ใช้ตามดรรชนีเมดิคัส (Index Medicus) ตัวอย่าง เช่น:-

1. การอ้างอิงหนังสือตำรา หากเป็นตำราของผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์ทุกคน เช่น
Crofton JW, Douglas AC. Respiratory diseases. 3rd ed. Oxford: Blackwell Scientific Publications; 1981.
หากเป็นตำราประเภทรวบรวมบทความของผู้นิพนธ์หลายคน ให้ใส่ชื่อบรรณาธิการหรือคณะบรรณาธิการ เช่น
Weatherall DJ, Ledingham JGG, Warrell DA, editors. Oxford textbook of medicine. Oxford: Oxford University Press; 1983.
บัญญัติ ปริชญานนท์, สมบุญ ผ่องอักษร (บรรณาธิการ). วัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์; 2524.
ในกรณีที่อ้างอิงเฉพาะบทความใดบทความหนึ่งจากหนังสือตำราประเภทบทความ เช่น
Reynolds HY. Normal and defective respiratory host defenses. In: Pennington JE, editor. Respiratory infections. New York: New York Press: 1983. p.1-24.
ประพาฬ ยงใจยุทธ. โรคหืด. ใน: บัญญัติ ปริชญานนท์ (บรรณาธิการ). โรคระบบการหายใจและวัณโรค. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา-ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2522. p. 212-44.

2. การอ้างอิงบทความในวารสาร ถ้าเป็นบทความที่มีผู้นิพนธ์ไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์ทุกคน แต่ถ้าเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 3 คนแรก เช่น
Douglas NJ, Calverley PMA, Leggett RJE, et al. Transient hypoxaemia during sleep in chronic bronchitis and emphysema. Lancet 1979: 1;1-4.
ประกิต วาทีสาธกกิจ, ประไพ สุเทวี บุรี, พูนเกษม เจริญพันธ์, สุมาลี เกียรติบุญศรี, ศรีสุวรรณ บูรณรัชดา. การจัดบริการรักษาผู้ป่วยนอก. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2529: 7:107-10.
ถ้าเป็นบทความหรือรายงานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เช่น
College of General Practitioner. Chronic bronchitis in Great Britain. Br Med J 1961: 2: 973-99.
ศูนย์วัณโรคเขต 5 อุบลราชธานี. รายงานการให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานปี 2520. วารสารโรคติดต่อ 2521: 4:20-35.

3. การอ้างอิงเอกสารในลักษณะอื่นๆ ถ้าเป็นต้นฉบับที่ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ แต่กำลังอยู่ในระหว่างตีพิมพ์ เช่น
Boysen PG, Block AJ. Wynne JW, et al. Nocturnal pulmonary hypertension in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Chest (in press).
สงคราม ทรัพย์เจริญ, ชัยเวช นุชประยูร, บัญญัติ ปริชญานนท์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อวัณโรคต้านยาปฐมภูมิกับผลการรักษา. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต (กำลังตีพิมพ์).
ถ้าเป็นรายงานประจำปีหรือเอกสารเผยแพร่ความรู้ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งคราว เช่น
National Center for Health Statistics. Acute condition-incidence and associated disability. United States July 1968-June 1969. Rockville, Maryland: National Center for Health Statistics, 1972.
สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการวัณโรค ระดับชาติครั้งที่ 2 วันที่ 8-9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ณ โรงแรม ไฮแอทเซ็นทรัลพลาซา, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตรีณสาร: 2530.
ในกรณีที่เป็นรายงานการอภิปราย หรือสัมมนาวิชาการ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เช่น
CIBA symposium. Terminology, definition, and classification of chronic pulmonary emphysema and related conditions. Thorax 1959; 14:286-99.

การส่งต้นฉบับ

เมื่อต้นฉบับของท่านพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ที่แนะนำไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว กรุณาสละเวลา ตรวจดูรูปแบบและองค์ประกอบของต้นฉบับอีกครั้งพร้อมกับพิสูจน์อักษรด้วยตนเองให้ละเอียดที่สุด แล้วจึงกรอกแบบฟอร์มการส่งต้นฉบับ (ท้ายเล่ม) และส่งสำเนา (scan) พร้อมไฟล์ต้นฉบับมาที่ e-mail address: tasneeya@gmail.com หรือส่งทางไปรษณีย์โดยจ่าหน้าซองดังนี้

บรรณาธิการวารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ตึกอัษฎางค์ ชั้น 2
โรงพยาบาลศิริราช ถนนวังหลัง แขวงบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

การพิสูจน์อักษร

ในกระบวนการเรียงพิมพ์ เมื่อคณะบรรณาธิการได้รับต้นฉบับของท่านแล้ว พิจารณาเห็น ว่าไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องจะส่งให้ผู้มีคุณวุฒิ 2 ท่านเป็นผู้ทบทวนบทความก่อนจะเร่งดำเนินการตีพิมพ์ออกเผยแพร่และจะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของต้นฉบับได้รับทราบ การเรียงพิมพ์และการพิสูจน์อักษรโดยเจ้าหน้าที่ของวารสารฯ ในขั้นตอนนี้จะถือเอาต้นฉบับพิมพ์ของท่านเป็นเกณฑ์ ท่านจะแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดๆ เข้าไปอีกไม่ได้ เพราะการทำเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในกระบวนการผลิตหลายประการ อีกทั้งจะทำให้สิ้นเปลืองเวลา-วัสดุ-ค่าจ้างในการพิมพ์มากขึ้น ในกรณีที่ท่านต้องการพิสูจน์อักษรในขั้นตอนนี้ด้วยตนเอง โปรดแจ้งความจำนงล่วงหน้าไว้ในต้นฉบับพิมพ์หรือในจดหมายที่แนบมากับต้นฉบับพิมพ์ด้วย

สำเนาพิมพ์

ผู้นิพนธ์สามารถดาวน์โหลดสำเนาพิมพ์ (reprint) ได้ที่เว็บไซต์ http://www.thaichest.net หรือ http://thaichestjournal.org

แบบฟอร์มการส่งต้นฉบับ

Download



คณะบรรณาธิการ

เจ้าของและผู้จัดพิมพ์

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ที่ปรึกษา

สงคราม ทรัพย์เจริญ
ชัยเวช นุชประยูร
ประพาฬ ยงใจยุทธ
นันทา มาระเนตร์
วิศิษฎ์ อุดมพาณิชย์
อรรถ นานา
สุมาลี เกียรติบุญศรี
สุชัย เจริญรัตนกุล

บรรณาธิการ

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย

รองบรรณาธิการ

อภิชาต คณิตทรัพย์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

มนะพล กุลปราณีต
สันติ สิลัยรัตน์
นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย

คณะบรรณาธิการ

กมล แก้วกิติณรงค์
กัลยา ปัญจพรผล
กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ
ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์
เจริญ ชูโชติถาวร
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา
ฉันชาย สิทธิพันธ์
เฉลิม ลิ่วศรีสกุล
ชายชาญ โพธิรัตน์
ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล
ณรงค์ภณ ทุมวิภาต
ณัฐพงศ์ เจียมจริยธรรม
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ
ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์
นาฏพธู สงวนวงศ์
นิธิพัฒน์ เจียรกุล
ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล
ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์
วรางคณา กีรติชนานนท์
วัชรา บุญสวัสดิ์
วิภา รีชัยพิชิตกุล
วิสาข์สิริ ตันตระกูล
ศรายุทธ ลูเซียน กีเตอร์
ศิวศักดิ์ จุทอง
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร
สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา
อดิศร วงษา
อนัฆพงษ์ พันธุ์มณี
อนันต์ วัฒนธรรม
อรรถวุฒิ ดีสมโชค
อังคณา ฉายประเสริฐ

เลขานุการ

ทัศนียา สุธรรมสมัย
เกตสุดา สุนทวงษ์

ผู้จัดการ

นาฏพธู สงวนวงศ์

ผู้ช่วยผู้จัดการ

เกตสุดา สุนทวงษ์

สำนักงาน

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
1281 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2270-1033, 0-2279-1354
โทรสาร 02-2271-1547

สำนักงานบรรณาธิการ

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ตึกอัษฎางค์ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช ถนนวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 0-2419-7757
โทรสาร 0-2411-0107

เว็บไซต์

http://thaichestjournal.org

Publisher

Anti-tuberculosis Association of Thailand under the Royal Patronage of His Majesty the King

Advisory Board

Songkram Supcharoen
Praparn Youngchaiyud
Visidth Udompanich
Sumalee Kiatboonsri
Chaivej Nuchprayoon
Nanta Maranetra
Arth Nana
Suchai Charoenratanakul

Editor

Wanchai Dejsomritrutai

Assistant Editor

Manaphol Kulpraneet
Santi Silairatana
Nuttapol Rittayamai

Editorial Board

Watchara Boonsawat
Angkana Chaiprasert
Nitipatana Chierakul
Charoen Chuchotitaworn
Athavuth Deesomchok
Supparerk Disayabutr
Narongpon Dumavibhat
Sarayut L Geater
Nattapon Jaimchariyatam
Siwasak Juthong
Kamol Kaewkittinarong
Theerasuk Kawamatawong
Warangkana Keeratichananont
Prapun Kittivoravitkul
Chalerm Liwsrisakul
Kittipong Maneechotesuwan
Kanlaya Panjapornpon
Chairat Permpikul
Chaychan Phothiratana
Anakapong Phunmanee
Kunchit Piyavechviratana
Prapaporn Pornsuriyasak
Wipa Reechaipichitkul
Suthat Rungruanghiranya
Piamlap Sangsayan
Natphatu Sanguanwong
Chanchai Sittipunt
Visasiri Tantrakul
Jamsak Tscheikuna
Doungrut Watanakijkrilert
Anan Wattanathum
Adisorn Wongsa

Secretary

Tasneeya Suthamsmai
Ketsuda Suntavong

Manager

Natphatu Sanguanwong

Assistant Manager

Ketsuda Suntavong

Office

Anti-tuberculosis Association of Thailand under the Royal Patronage of His Majesty the King
1281 Paholyothin Road, Samsen-nai, Bangkok 10400
Tel: 0-2270-1033, 0-2279-1354
Fax: 0-2271-1547

Office of the editor

Division of Respiratory Disease and Tuberculosis
Asdang Building, 2nd floor, Siriraj Hospital,  Wanglang Rd, Bangkoknoi, Bangkok 10700
Tel: 0-2419-7757
Fax: 0-2411-0107

Website Address

http://thaichestjournal.org