New normal in spirometry

PDF

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

ความปกติใหม่ในการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรี
New Normal in Spirometric Procedures

สิมาพร พรมสาร วท.บ.
ภัทรพันธุ์ เลิศฤทธิ์วิมานแมน พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ที่องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้รับทราบและแจ้งถึงกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Disease 2019, COVID-19) ที่ได้แพร่ระบาดไปยังทั่วโลก1  มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 794,1791 คน2  ผู้เสียชีวิตมากกว่า 434,796 คน2  ในประเทศไทยได้เริ่มมีการแพร่ระบาดโดยแจ้งพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 25633  ผู้เสียชีวิตรายแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 25634 และการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านทางฝอยละออง5  ทางจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อ จากการไอ จาม หรือหายใจ โดยสามารถรับเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุเหล่านั้นที่มีเชื้อแล้วมาสัมผัสตา จมูกหรือปาก และการรับเชื้อโดยตรงจากการหายใจเอาฝอยละอองของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการหายใจ5

จากลักษณะและวิธีการของหัตถการ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของผู้รับการตรวจ ทำให้การตรวจสมรรถภาพปอดเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายของเชื้อในระดับที่ทำให้เกิดละอองลอย (Aerosol generating procedures, AGPs) และไม่ทำให้เกิดละอองลอย (Non-aerosol generating procedures, Non-AGPs) ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ ผู้รับการตรวจ รวมถึงผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มาทำการรักษาในโรงพยาบาล5 ที่อาจได้รับเชื้อดังกล่าวในระหว่างการตรวจโดยตรงและสัมผัสใกล้ชิด6  ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงควรทำในกรณีที่สำคัญหรือเพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจในการรักษาอย่างเร่งด่วนเท่านั้น7-8  โดยหากจำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพปอด ควรคำนึงถึงการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ดังต่อไปนี้

Read More

EUS-B

PDF

บททบทวนวารสาร
Review Article

การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหารด้วยกล้องส่องทางเดินหายใจ
Transesophageal Endoscopic Ultrasound with Convex Probe Endobronchial Ultrasound Scope, EUS-B

กุลชาติ เอกภูมิมาศ พ.บ.
พันเอกวิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย พ.บ.
พลตรีอนันต์ วัฒนธรรม พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ
ภาควิชาอายุรศาสตร์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

บทนำ

การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหารด้วยกล้องส่องทางเดินหายใจ (EUS-B) มีพื้นฐานเริ่มต้นจากการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารด้วยกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (transesophageal ultrasound, EUS) แต่เป็นเทคนิคการทำ EUS โดยประยุกต์เอากล้องส่องตรวจอัลตราซาวด์ทางหลอดลม (endobonchial ultrasound, EBUS) มาใช้แทน โดยใช้เทคนิควิธีการทำเหมือนกับการทำ EUS ทั่วไป ปกติแล้วการทำ EUS นั้นมีวิวัฒนาการเริ่มต้นมาจากอายุรแพทย์ทางเดินอาหารเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีการพัฒนากล้องส่องทางเดินหายใจมากขึ้น จึงมีการพัฒนา EBUS ขึ้นมาโดยพัฒนามาจาก EUS อีกที ในปัจจุบันการทำ EBUS เพื่อการวินิจฉัย และการตรวจระยะของโรคมะเร็งปอด และมะเร็งในช่องทรวงอกถือเป็นมาตรฐานที่แนะนำในแนวทางปฏิบัติทั่วไป1 เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีความไวและความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 93 และร้อยละ 100 ตามลำดับ2 นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยในการทำหัตถการค่อนข้างสูงโดยมีค่าเฉลี่ยการเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมที่ร้อยละ 1.233 และมีอัตราตายจากการทำหัตถการอยู่ที่ร้อยละ 0.014

ในปี พ.ศ.2550 มีการศึกษาที่รายงานถึงการใช้กล้อง EBUS ในการทำ EUS (EUS-B) ครั้งแรกในผู้ป่วยที่มีหลอดอาหารตีบแคบไม่สามารถใส่กล้องส่องทางเดินอาหารทั่วไปได้5 ต่อมาได้มีการศึกษาโดย Bin Hwangbo และคณะ6 ในปีพ.ศ.2552 ได้ทำ EUS-B ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ EBUS ได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น ก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถเข้าถึงได้จาก EBUS หรือปัจจัยข้อจำกัดของตัวผู้ป่วยเอง พบว่า EUS-B นั้นปลอดภัย ช่วยวินิจฉัยและเพิ่มหรือเปลี่ยนระยะของมะเร็งปอดได้ หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์และประยุกต์ใช้ EUS-B ในการวินิจฉัยและตรวจหาระยะของมะเร็งปอดร่วมกับการทำ EBUS มากขึ้น โดยพบว่าสามารถช่วยเพิ่มความไวและความจำเพาะในการตรวจได้ สามารถเข้าถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องอกที่ EBUS ไม่สามารถเข้าถึงได้ และสามารถลดอัตราการทำ mediastinoscopy ได้7 โดยมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจหาระยะของมะเร็งด้วยการผ่าตัด (surgical staging) นอกจากนี้ EUS ยังมีข้อดีกว่า EBUS อยู่บางประการซึ่งจะกล่าวต่อไป เป็นผลให้การทำ EUS-B ควบคู่ไปกับ EBUS เป็นที่ยอมรับ และมีการใช้ในเวชปฏิบัติมากขึ้นในปัจจุบัน

Read More

COVID-19 Siriraj Experience

PDF

บทความพิเศษ
Special Article

ประสบการณ์ของศิริราชในการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก

นิธิพัฒน์  เจียรกุล พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค      ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่นานนักประเทศไทยที่เป็นเป้าหมายหลักหนึ่งของนักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หลังจากนั้นจึงค่อยมีการระบาดไปอย่างช้าๆ ภายใต้การควบคุมอย่างดีของกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งมีการระบาดอย่างรวดเร็วในระลอกแรกในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในชื่อใหม่ คือ “โควิด-19” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

SARS-CoV-2

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความใกล้เคียงของลักษณะทางพันธุกรรมกับเชื้อ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อสิบกว่าปีก่อน1 เชื้อนี้มี reservoir host คือ ค้างคาว โดยมีตัวนิ่มเป็น intermediate host 2 ในการเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นไวรัสนี้จะใช้ส่วน spike (S) protein จับกับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor3 นอกจากนี้ยังมีบทบาทของขั้นตอนอื่นในพยาธิกำเนิดของโรคที่มีความสำคัญในการค้นหาวิถีทางรักษาโรคนี้ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ endocytosis โดยอาศัย AP-2-associated protein kinase 1 (AAK1) หรือ กระบวนการ replication โดยใช้ RNA-dependent RNA polymerase (RDRp)4

ปรากฏการณ์หนึ่งที่พบในระหว่างการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คือ cytokine storm ซึ่งพบได้เช่นเดียวกับในผู้ป่วยโรคซาร์สและโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในช่วงการระบาดแรกๆ โดยเกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยบางรายในระยะหลังที่กำลังฟื้นตัวจากโรค และเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของการเกิด ARDS และ multiple organ dysfunction ที่ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี เชื่อว่าเกิดจาก CD4+T cells ที่ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จึงหลั่ง GM-CSF และ inflammatory cytokine อื่น ซึ่งจะไปกระตุ้น dendritic cell และ macrophage ทำให้มี high expression ของ IL-6 และ inflammatory biomarker อื่น5  

Read More

Smear positive TB

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

PDF

แนวโน้มอัตราผู้ป่วยวัณโรคที่เสมหะตรวจพบเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา
ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปี 2554-2560

สุพิศ  โพธิ์ขาว วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)

กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของการสาธารณสุขในประเทศไทย นับวันการแพร่เชื้อยิ่งทวีความรุนแรง ทำให้ลุกลามออกเป็นวงกว้าง เป็นผลให้ยับยั้งยาก การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยการตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ นำพาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน คือ การป้องกันและการลดการแพร่กระจายเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อAFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมุดทะเบียนวัณโรค (TB04), โปรแกรม MLAB2000 และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วย ตาราง กราฟ และแผนภูมิผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 อัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.95 เป็นร้อยละ 11.18 และร้อยละ 11.28 ส่วนในระหว่างปีงบประมาณ 2557 ถึง 2559 อัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 10.90 เป็นร้อยละ 10.16 และร้อยละ 9.10 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2560 อัตราผู้ป่วยกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.45 พร้อมยังพบว่าอัตราผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิงในทุกปีงบประมาณ โดยที่อัตราผู้ป่วยเพศชายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราผู้ป่วยเพศหญิงมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผู้ป่วยช่วงอายุ 35-44 ปี มีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ รองลงมาคือช่วงอายุ 54 ปีขึ้นไป และช่วงอายุ 25-34 ปี ตามลำดับอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดาในแต่ละปีงบประมาณไม่แตกต่างกันมากนัก โดยแต่ละปีงบประมาณพบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 9-11 โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนไทย   เพศชายต่อหญิงประมาณ 2.5 : 1 ส่วนผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว เพศชายต่อหญิงประมาณ1.2 : 1 อนึ่ง ช่วงอายุของผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB สูงสุดคือช่วงอายุ 25-44 ปี แต่ก็พบแนวโน้มการตรวจพบเชื้อ AFB เพิ่มขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

Read More

Sarcoidosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Pulmonary Sarcoidosis

Patcharin Harnthanakul, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis,
Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Introduction

Sarcoidosis is a granulomatous disease that affects a variety of populations.1 It was first described in 1869 by Jonathan Hutchinson, a British dermatologist who defined a 58-year-old coal wharf worker with purple, symmetrical skin plaques on legs and hands that were not painful. In 1897, a Norwegian dermatologist, Caesar Boeck, presented a patient with “multiple benign sarcoid of the skin” which histologically showed well-defined foci of epithelioid cells with giant cells2. Although, nearly 150 years later, the etiology of sarcoidosis remains unknown and the course of the disease is unpredictable. The immune pathogenesis involves a complex interaction between host, genetic factors and environmental or infectious triggers which produces granuloma formation. The disease can affect any organs but mostly involves the lungs and lymph nodes. The disease has a wide range of clinical manifestations, varies from asymptomatic patients with radiographic abnormalities to progressive disease causing morbidity and mortality. Treatment depends on the severity of the disease and organ involvement. This review summarizes the pathogenesis, clinical manifestation, pathological and radiological features, and management focusing on pulmonary sarcoidosis.

Read More

Pleural catheter

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

สายระบายทรวงอกชนิดฝังใต้ผิวหนัง 
(Tunneled pleural catheters)

สรายุทธ เอี่ยมสอาด พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ.

*แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

Tunneled pleural catheter (TPC) หรือ indwelling pleural catheter (IPC) คือ สายระบายทรวงอกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใส่คาไว้ได้เป็นเวลานาน ประโยชน์ที่สำคัญของการใส่สาย TPC นี้ คือช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและสามารถใส่แบบผู้ป่วยนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ปัจจุบันมีคำแนะนำในการใส่สาย TPC ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทั้งที่มีสาเหตุจากมะเร็งแพร่กระจายและไม่ใช่มะเร็งซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาจำเพาะ นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากด้วย

Read More

ILD in IIM

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Interstitial Lung Diseases in the Idiopathic Inflammatory Myopathies

Intira Masayavanich, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis
Department of Medicine
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Mahidol University

Introduction

Idiopathic inflammatory myopathies or myositis (IIM) are heterogeneous disorders characterized by varying degrees of muscle weakness and inflammation[1]. Lungs are the most common extramuscular involvement in IIM including respiratory muscle weakness, pulmonary hypertension, interstitial lung disease, and pleural effusion[2-3]. Interstitial lung disease (ILD) is the hallmark of pulmonary involvement that causes significant morbidity and mortality[2].

Read More

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More

Article appraisal

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice
PDF

Easy Tricks in Article Appraisal

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทนำ

แพทย์ในยุคปัจจุบันรวมทั้งในอนาคตอยู่ในโลกของข้อมูลข่าว­สาร ซึ่งในบริบทของวิชาชีพแพทย์ องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะถูกนำเสนอในรูปแบบของบทความในวารสารวิชาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องง่าย­ดาย แต่สิ่งที่ยากและสำคัญสำหรับแพทย์มากกว่าก็คือ ทักษะในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มา มีบทความตีพิมพ์ที่แนะนำวิธีการดังกล่าวอยู่หลายชิ้น[1] แต่บทความนี้จะนำเสนอวิธีการอย่างง่ายๆ เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินข้อมูลวิชาการดังกล่าว สำหรับแพทย์ทั่วไปเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะดังกล่าวต่อไป ในที่นี้จะเน้นหนักสำหรับงานวิจัยในรูปแบบ interventional study ซึ่งเป็นประเภทที่แพร่หลายในปัจจุบัน

Read More

ปีที่ 38 ฉบับที่ 3

รายงานผู้ป่วย
Case Report
PDF

Endobronchial Schwannoma:
Case Report                                                                                                       

สรายุทธ เอี่ยมสอาด พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ
.
*แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รับไว้ตีพิมพ์เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม    2562 

Read More