CPAP clinic during covid-19 pandemic

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

บทบาทของนักตรวจการนอนหลับ ในด้านการให้บริการ CPAP Clinic จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

กุสุมา มามณี วท.บ.
ธวัชชัย แพนอุชชวัน วท.ม.
ภคณัช พรมเคียมอ่อน วท.บ.

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้จัดตั้งคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP Clinic) ให้การบริการเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure, CPAP) ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติที่สัมพันธ์กับการหลับ (sleep-related breathing disorders) โดยอุบัติการณ์ (incidence) ที่พบมากเป็นผู้ป่วยที่มีการกรน (snoring) และ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) แต่เนื่องด้วยช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ต่างไปจากวิถีเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานพยาบาลจำเป็นต้องมี มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้เล็งเห็นความสำคัญ นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ภายใต้มาตรฐานการบริการที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการติดเชื้อให้แก่ผู้รับบริการ บทความนี้จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงบทบาทของนักตรวจการนอนหลับในการให้บริการ CPAP Clinic ในรูปแบบใหม่

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19  พบผู้คนเจ็บป่วย เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สร้างความสูญเสียให้กับสังคมโลก ผู้คนต้องปรับตัวหาสิ่งป้องกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำว่า New Normal จึงเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาในสังคม ราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมาย New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ ที่คนในสังคมคุ้นเคย อย่างเป็นปกติ และเคยคาดหมาย ล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย 1

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช นอกจากมีการให้บริการ การตรวจการนอนหลับอย่างครบวงจรแล้ว ยังมีบริการคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “Continuous Positive Airway Pressure: (CPAP)”2  ให้บริการยืม-คืน CPAP และอุปกรณ์, ถอดข้อมูล CPAP เพื่ออ่านผล, ซื้ออุปกรณ์, ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน, ตลอดจนการซ่อมบำรุง  ซึ่งมีผู้ป่วยมารับบริการมากกว่า 70 คนต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการหลักกับการบริการทางการแพทย์ ปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การให้บริการที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้มาใช้บริการ

Read More

Pulmonary Langerhans Cell Histiocytosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

Pulmonary Langerhans Cell Histiocytosis

Siwadol Sunhapanit, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis, Department of Medicine
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

Introduction

Langerhans’ cell was discovered by Paul Langerhans in 1868 and named after him. This cell was first described as an extracellular nerve cell from dendritic morphology.(1) Later, this cell was described as an immune cell from as part of the mononuclear phagocyte system in the skin (antigen-presenting cell) and can be found in the other tissue.(2) The unique of Langerhans’ cell which different from other dendritic cell are the present of Birbeck granules and CD1a antigen on their cell surface as well as their origin, yolk-sac progenitor cells, and fetal liver-derived monocytes instead of myeloid progenitor cells(2,3)

Langerhans’ cell histiocytosis (LCH) is one of the histiocytosis disorders, abnormal accumulation of monocyte, macrophage, or dendritic cell in organs. It is a rare disease of inconclusive etiology and has a broad spectrum of clinical manifestations and prognosis.(2–4)This disease was firstly described in 1893 and had many synonyms based on organ involvement.(5,6) LCH can affect all age groups and is divided into systemic LCH (Hand-Schuller-Christian disease, Letterer-Siwe disease) and localized LCH. The latter has a better prognosis.(7) Pulmonary Langerhans’ cell histiocytosis (PLCH) can be found either in isolated PLCH or systemic LCH(8)

Read More

คลังวารสาร | ARCHIVE

พ.ศ. | Yearปีที่ | Volumeฉบับที่ 1 | Issue 1ฉบับที่ 2 | Issue 2ฉบับที่ 3 | Issue 3ฉบับที่ 4 | Issue 4
2565 | 202241PDFPDFPDF
2564 | 202140PDFPDFPDF
2563 | 202039PDFPDFPDF
2562 | 201938PDFPDFPDF
2561 | 201837PDFPDFPDF
2560 | 201736PDFPDFPDF
2557 | 201435PDFPDFPDFPDF
2556 | 201334PDFPDFPDFPDF
2555 | 201233PDFPDFPDFPDF
2554 | 201132PDFPDFPDFPDF
2553 | 201031PDFPDFPDFPDF
2552 | 200930PDFPDFPDFPDF
2551 | 200829PDFPDFPDFPDF
2550 | 200728PDFPDFPDFPDF
2549 | 200627PDFPDFPDFPDF
2548 | 200526PDFPDFPDFPDF
2547 | 200425PDFPDFPDFPDF
2546 | 200324PDFPDFPDFPDF