CPAP clinic during covid-19 pandemic

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

บทบาทของนักตรวจการนอนหลับ ในด้านการให้บริการ CPAP Clinic จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

กุสุมา มามณี วท.บ.
ธวัชชัย แพนอุชชวัน วท.ม.
ภคณัช พรมเคียมอ่อน วท.บ.

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้จัดตั้งคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP Clinic) ให้การบริการเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure, CPAP) ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติที่สัมพันธ์กับการหลับ (sleep-related breathing disorders) โดยอุบัติการณ์ (incidence) ที่พบมากเป็นผู้ป่วยที่มีการกรน (snoring) และ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) แต่เนื่องด้วยช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ต่างไปจากวิถีเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานพยาบาลจำเป็นต้องมี มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้เล็งเห็นความสำคัญ นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ภายใต้มาตรฐานการบริการที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการติดเชื้อให้แก่ผู้รับบริการ บทความนี้จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงบทบาทของนักตรวจการนอนหลับในการให้บริการ CPAP Clinic ในรูปแบบใหม่

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19  พบผู้คนเจ็บป่วย เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สร้างความสูญเสียให้กับสังคมโลก ผู้คนต้องปรับตัวหาสิ่งป้องกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำว่า New Normal จึงเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาในสังคม ราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมาย New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ ที่คนในสังคมคุ้นเคย อย่างเป็นปกติ และเคยคาดหมาย ล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย 1

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช นอกจากมีการให้บริการ การตรวจการนอนหลับอย่างครบวงจรแล้ว ยังมีบริการคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “Continuous Positive Airway Pressure: (CPAP)”2  ให้บริการยืม-คืน CPAP และอุปกรณ์, ถอดข้อมูล CPAP เพื่ออ่านผล, ซื้ออุปกรณ์, ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน, ตลอดจนการซ่อมบำรุง  ซึ่งมีผู้ป่วยมารับบริการมากกว่า 70 คนต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการหลักกับการบริการทางการแพทย์ ปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การให้บริการที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้มาใช้บริการ

Read More

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More

Bronchoscopy

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) และบทบาทของบุคลากรผู้ช่วยแพทย์

มนฤทัย เด่นดวง พย.บ.
ห้องหัตถการวินิจฉัย สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อุรเวชช์ปฏิบัติ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560
PDF

บทนํา

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) เป็นการส่องกล้องเข้าไปในหลอดลมโดยผ่านทางจมูกหรือปากของผู้ที่ได้รับการตรวจ มีข้อบ่งชี้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคของระบบการหายใจ ปัจจุบันกล้องสําหรับการส่องตรวจหลอดลมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ flexible bronchoscope (รูปที่ 1) และ rigid bronchoscope (รูปที่ 2) แพทย์อายุรกรรมโรคระบบการหายใจส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยใช้ flexible bronchoscope ทั้งเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยสามารถให้ยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่และระดับปานกลาง (conscious sedation) ได้ ส่วนการส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope นั้น มีข้อดีคือแพทย์สามารถทําหัตถการที่ซับซ้อนได้มากกว่า เช่น การนําก้อนเนื้อออกจากหลอดลม (tumor removal), การใส่ท่อหลอดลม (airway stent) เป็นต้น และแพทย์สามารถเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและช่วยหายใจขณะทําหัตถการได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope ทําได้ยากกว่าเนื่องจากต้องใช้ความชํานาญ และประสบการณ์ และเนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการดมยาสลบ จึงทําให้สามารถทําได้ในบางสถาบันเท่านั้น

Read More