คลังวารสาร | ARCHIVE

พ.ศ. | Yearปีที่ | Volumeฉบับที่ 1 | Issue 1ฉบับที่ 2 | Issue 2ฉบับที่ 3 | Issue 3ฉบับที่ 4 | Issue 4
2565 | 202241PDFPDFPDF
2564 | 202140PDFPDFPDF
2563 | 202039PDFPDFPDF
2562 | 201938PDFPDFPDF
2561 | 201837PDFPDFPDF
2560 | 201736PDFPDFPDF
2557 | 201435PDFPDFPDFPDF
2556 | 201334PDFPDFPDFPDF
2555 | 201233PDFPDFPDFPDF
2554 | 201132PDFPDFPDFPDF
2553 | 201031PDFPDFPDFPDF
2552 | 200930PDFPDFPDFPDF
2551 | 200829PDFPDFPDFPDF
2550 | 200728PDFPDFPDFPDF
2549 | 200627PDFPDFPDFPDF
2548 | 200526PDFPDFPDFPDF
2547 | 200425PDFPDFPDFPDF
2546 | 200324PDFPDFPDFPDF

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More

Article appraisal

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice
PDF

Easy Tricks in Article Appraisal

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทนำ

แพทย์ในยุคปัจจุบันรวมทั้งในอนาคตอยู่ในโลกของข้อมูลข่าว­สาร ซึ่งในบริบทของวิชาชีพแพทย์ องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะถูกนำเสนอในรูปแบบของบทความในวารสารวิชาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องง่าย­ดาย แต่สิ่งที่ยากและสำคัญสำหรับแพทย์มากกว่าก็คือ ทักษะในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มา มีบทความตีพิมพ์ที่แนะนำวิธีการดังกล่าวอยู่หลายชิ้น[1] แต่บทความนี้จะนำเสนอวิธีการอย่างง่ายๆ เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินข้อมูลวิชาการดังกล่าว สำหรับแพทย์ทั่วไปเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะดังกล่าวต่อไป ในที่นี้จะเน้นหนักสำหรับงานวิจัยในรูปแบบ interventional study ซึ่งเป็นประเภทที่แพร่หลายในปัจจุบัน

Read More