ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ | Volume 41 Issue 3

กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๕ | September-December 2022

นิพนธ์ต้นฉบับ | Original Article

การศึกษาอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะลุกลามเฉพาะที่ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ฤทธิกร อภิณหพาณิชย์
ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์
วิชัย เบญจชลมาศ

PDF

การเปรียบเทียบผลและประเมินประสิทธิภาพของการเพาะเลี้ยงเชื้อ และพิสูจน์ชนิดของเชื้อวัณโรค ด้วยวิธีเลี้ยงเชื้อบนอาหารแข็ง กับวิธีเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลว
ทิพย์ภารัตน์ ณ ศรีสุข
ชนัฎตรี ก๋ำดี
ลัดดา รัตนวิจิตร

PDF

ผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่มีผลการตรวจยืนยันและได้รับแจ้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ภายใต้กลไกพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
อรรถกร จันทร์มาทอง
ลัดดาวัลย์ ปัญญา

PDF

บททบทวนวารสาร | Review Article

ทบทวนสูตรยาระยะสั้นที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
นฤมล ลือกิตตินันท์
PDF

เกี่ยวกับวารสาร | About Journal

ดัชนี | Index
PDF

ข้อแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
PDF



ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ | Volume 41 Issue 2

พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕ | May-August 2022

นิพนธ์ต้นฉบับ | Original Article

การศึกษาการใช้การส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่างร่วมกับการตรวจโดยวิธีอณูชีววิทยา เพื่อวินิจฉัยโรควัณโรคปอด ในผู้ป่วยที่สงสัยวัณโรคปอดที่เสมหะไม่พบเชื้อ
เริงศักดิ์ สิงห์กาญจนโรจน์
PDF

ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือดื้อยา Rifampicin (MDR/RR-TB) ด้วยสูตรยาระยะสั้น 9-11เดือน
ผลิน กมลวัทน์
อุษณีย์ อึ้งเจริญ
ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล
พิริยา เหรียญไตรรัตน์

PDF

ประสิทธิผลของ Xpert MTB/RIF® Ultra กับการตรวจพบเชื้อวัณโรคในประเทศไทย
วัลยา สิทธิ
สายใจ สมิทธิการ
วรรณนิศา เทพรงค์ทอง
ผลิน กมลวัทน์

PDF

บททบทวนวารสาร | Review Article

การสําลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจและการส่องกล้องหลอดลม
พรชัย โอภาสปัญญาสาร
พลตรีอนันต์ วัฒนธรรม
เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์
ศักรินทร์ กังสุกุล
กุลชาติ เอกภูมิมาศ

PDF

Thermal ablation of peripheral lung cancer: A narrative review of the role of bronchoscopic thermal ablation
Chayanon Songsomboon
Kamontip Kunwipakorn
Supparerk Disayabutr
Jamsak Tscheikuna

PDF

ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

PDF



MDRTB

PDF

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

โครงการประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB), ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง (pre XDR-TB) และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่รักษายาก (difficult to treat MDR-TB) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาด้วยสูตรยารายการใหม่ ปีงบประมาณ 2559-2561

ผลิน กมลวัทน์ พ.บ.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

ปี พ.ศ. 2561 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยแบ่งยาในการรักษาเป็น 3 กลุ่ม การรักษาใช้ยารักษาตัวใหม่และสูตรยาใหม่เพื่อเพิ่มอัตราการหายและลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรค เช่น bedaquiline, delamanid หรือนำยาที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคอื่นมาใช้ (off-label use) เช่น linezolid, clofazimine  การใช้ยาต้องมีระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาเชิงรุก (active drug safety monitoring and management: aDSM)การศึกษานี้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
ผลการศึกษา พบว่าปีงบประมาณ 2559-2561 มีผู้ป่วย XDR-TB/preXDR-TB/difficult to treat MDR-TB ทั้งหมด 56 ราย ผู้ป่วยที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 37 ราย (ร้อยละ 66.1) มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 32.1) โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือเบาหวาน 25 ราย (ร้อยละ 86.2) และแบ่งประเภทผู้ป่วยตามผลการทดสอบความไวต่อยาคือผู้ป่วย XDR-TB 30 ราย (ร้อยละ 51.9), ผู้ป่วย pre XDR-TB จำนวน 22 ราย (ร้อยละ 40.7) และผู้ป่วย difficult to treat MDR-TB จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 7.4) ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 56 ราย สูตรยาที่ใช้ในการรักษามากที่สุดคือสูตร: 6Cm-Bdq-Mfx-Lzd-Cfz/14-18 Mfx-Lzd-Cfz 34 ราย (ร้อยละ 60.7), รองลงมาคือสูตร: 6Cm-Bdq-Lzd-Cfz/14-18 Lzd-Cfz 10 ราย      (ร้อยละ 17.1) จากการรักษาพบว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด คือมีค่า creatinine ในเลือดสูง 31 ราย (ร้อยละ 57.4) รองลงมา คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน พบ 25 ราย (ร้อยละ 46.3) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ (QT prolong/abnormal EKG) 14 ราย (ร้อยละ 25.9) อัตราผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในปีงบประมาณ 2559, 2560 และ 2561 คือ ร้อยละ 75.0, 81.3 และ 87.5 ตามลำดับ และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทการดื้อยาของผู้ป่วยกับผลการรักษาของผู้ป่วยในแต่ละประเภท พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05)
ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว ควรมีการประเมินติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 6 และ 12 เดือนหลังการรักษาหาย การรักษาวัณโรคดื้อยาต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน และอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์6  ดังนั้นระบบการให้คำปรึกษาให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรคและการรักษารวมทั้งการใช้ยาเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดความร่วมมือของผู้ป่วย รวมทั้งเพิ่มอัตราการรักษาหายมากขึ้น

Read More

Smear positive TB

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

PDF

แนวโน้มอัตราผู้ป่วยวัณโรคที่เสมหะตรวจพบเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา
ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปี 2554-2560

สุพิศ  โพธิ์ขาว วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)

กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของการสาธารณสุขในประเทศไทย นับวันการแพร่เชื้อยิ่งทวีความรุนแรง ทำให้ลุกลามออกเป็นวงกว้าง เป็นผลให้ยับยั้งยาก การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยการตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ นำพาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน คือ การป้องกันและการลดการแพร่กระจายเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อAFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมุดทะเบียนวัณโรค (TB04), โปรแกรม MLAB2000 และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วย ตาราง กราฟ และแผนภูมิผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 อัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.95 เป็นร้อยละ 11.18 และร้อยละ 11.28 ส่วนในระหว่างปีงบประมาณ 2557 ถึง 2559 อัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 10.90 เป็นร้อยละ 10.16 และร้อยละ 9.10 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2560 อัตราผู้ป่วยกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.45 พร้อมยังพบว่าอัตราผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิงในทุกปีงบประมาณ โดยที่อัตราผู้ป่วยเพศชายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราผู้ป่วยเพศหญิงมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผู้ป่วยช่วงอายุ 35-44 ปี มีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ รองลงมาคือช่วงอายุ 54 ปีขึ้นไป และช่วงอายุ 25-34 ปี ตามลำดับอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดาในแต่ละปีงบประมาณไม่แตกต่างกันมากนัก โดยแต่ละปีงบประมาณพบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 9-11 โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนไทย   เพศชายต่อหญิงประมาณ 2.5 : 1 ส่วนผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว เพศชายต่อหญิงประมาณ1.2 : 1 อนึ่ง ช่วงอายุของผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB สูงสุดคือช่วงอายุ 25-44 ปี แต่ก็พบแนวโน้มการตรวจพบเชื้อ AFB เพิ่มขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

Read More