ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ | Volume 41 Issue 3

กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๕ | September-December 2022

นิพนธ์ต้นฉบับ | Original Article

การศึกษาอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะลุกลามเฉพาะที่ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ฤทธิกร อภิณหพาณิชย์
ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์
วิชัย เบญจชลมาศ

PDF

การเปรียบเทียบผลและประเมินประสิทธิภาพของการเพาะเลี้ยงเชื้อ และพิสูจน์ชนิดของเชื้อวัณโรค ด้วยวิธีเลี้ยงเชื้อบนอาหารแข็ง กับวิธีเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลว
ทิพย์ภารัตน์ ณ ศรีสุข
ชนัฎตรี ก๋ำดี
ลัดดา รัตนวิจิตร

PDF

ผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่มีผลการตรวจยืนยันและได้รับแจ้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ภายใต้กลไกพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
อรรถกร จันทร์มาทอง
ลัดดาวัลย์ ปัญญา

PDF

บททบทวนวารสาร | Review Article

ทบทวนสูตรยาระยะสั้นที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
นฤมล ลือกิตตินันท์
PDF

เกี่ยวกับวารสาร | About Journal

ดัชนี | Index
PDF

ข้อแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
PDF



ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ | Volume 41 Issue 2

พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕ | May-August 2022

นิพนธ์ต้นฉบับ | Original Article

การศึกษาการใช้การส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่างร่วมกับการตรวจโดยวิธีอณูชีววิทยา เพื่อวินิจฉัยโรควัณโรคปอด ในผู้ป่วยที่สงสัยวัณโรคปอดที่เสมหะไม่พบเชื้อ
เริงศักดิ์ สิงห์กาญจนโรจน์
PDF

ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือดื้อยา Rifampicin (MDR/RR-TB) ด้วยสูตรยาระยะสั้น 9-11เดือน
ผลิน กมลวัทน์
อุษณีย์ อึ้งเจริญ
ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล
พิริยา เหรียญไตรรัตน์

PDF

ประสิทธิผลของ Xpert MTB/RIF® Ultra กับการตรวจพบเชื้อวัณโรคในประเทศไทย
วัลยา สิทธิ
สายใจ สมิทธิการ
วรรณนิศา เทพรงค์ทอง
ผลิน กมลวัทน์

PDF

บททบทวนวารสาร | Review Article

การสําลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจและการส่องกล้องหลอดลม
พรชัย โอภาสปัญญาสาร
พลตรีอนันต์ วัฒนธรรม
เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์
ศักรินทร์ กังสุกุล
กุลชาติ เอกภูมิมาศ

PDF

Thermal ablation of peripheral lung cancer: A narrative review of the role of bronchoscopic thermal ablation
Chayanon Songsomboon
Kamontip Kunwipakorn
Supparerk Disayabutr
Jamsak Tscheikuna

PDF

ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

PDF



Pulmonary Langerhans Cell Histiocytosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

Pulmonary Langerhans Cell Histiocytosis

Siwadol Sunhapanit, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis, Department of Medicine
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

Introduction

Langerhans’ cell was discovered by Paul Langerhans in 1868 and named after him. This cell was first described as an extracellular nerve cell from dendritic morphology.(1) Later, this cell was described as an immune cell from as part of the mononuclear phagocyte system in the skin (antigen-presenting cell) and can be found in the other tissue.(2) The unique of Langerhans’ cell which different from other dendritic cell are the present of Birbeck granules and CD1a antigen on their cell surface as well as their origin, yolk-sac progenitor cells, and fetal liver-derived monocytes instead of myeloid progenitor cells(2,3)

Langerhans’ cell histiocytosis (LCH) is one of the histiocytosis disorders, abnormal accumulation of monocyte, macrophage, or dendritic cell in organs. It is a rare disease of inconclusive etiology and has a broad spectrum of clinical manifestations and prognosis.(2–4)This disease was firstly described in 1893 and had many synonyms based on organ involvement.(5,6) LCH can affect all age groups and is divided into systemic LCH (Hand-Schuller-Christian disease, Letterer-Siwe disease) and localized LCH. The latter has a better prognosis.(7) Pulmonary Langerhans’ cell histiocytosis (PLCH) can be found either in isolated PLCH or systemic LCH(8)

Read More

New normal in spirometry

PDF

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

ความปกติใหม่ในการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรี
New Normal in Spirometric Procedures

สิมาพร พรมสาร วท.บ.
ภัทรพันธุ์ เลิศฤทธิ์วิมานแมน พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ที่องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้รับทราบและแจ้งถึงกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Disease 2019, COVID-19) ที่ได้แพร่ระบาดไปยังทั่วโลก1  มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 794,1791 คน2  ผู้เสียชีวิตมากกว่า 434,796 คน2  ในประเทศไทยได้เริ่มมีการแพร่ระบาดโดยแจ้งพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 25633  ผู้เสียชีวิตรายแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 25634 และการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านทางฝอยละออง5  ทางจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อ จากการไอ จาม หรือหายใจ โดยสามารถรับเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุเหล่านั้นที่มีเชื้อแล้วมาสัมผัสตา จมูกหรือปาก และการรับเชื้อโดยตรงจากการหายใจเอาฝอยละอองของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการหายใจ5

จากลักษณะและวิธีการของหัตถการ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของผู้รับการตรวจ ทำให้การตรวจสมรรถภาพปอดเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายของเชื้อในระดับที่ทำให้เกิดละอองลอย (Aerosol generating procedures, AGPs) และไม่ทำให้เกิดละอองลอย (Non-aerosol generating procedures, Non-AGPs) ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ ผู้รับการตรวจ รวมถึงผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มาทำการรักษาในโรงพยาบาล5 ที่อาจได้รับเชื้อดังกล่าวในระหว่างการตรวจโดยตรงและสัมผัสใกล้ชิด6  ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงควรทำในกรณีที่สำคัญหรือเพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจในการรักษาอย่างเร่งด่วนเท่านั้น7-8  โดยหากจำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพปอด ควรคำนึงถึงการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ดังต่อไปนี้

Read More

EUS-B

PDF

บททบทวนวารสาร
Review Article

การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหารด้วยกล้องส่องทางเดินหายใจ
Transesophageal Endoscopic Ultrasound with Convex Probe Endobronchial Ultrasound Scope, EUS-B

กุลชาติ เอกภูมิมาศ พ.บ.
พันเอกวิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย พ.บ.
พลตรีอนันต์ วัฒนธรรม พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ
ภาควิชาอายุรศาสตร์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

บทนำ

การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหารด้วยกล้องส่องทางเดินหายใจ (EUS-B) มีพื้นฐานเริ่มต้นจากการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารด้วยกล้องตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (transesophageal ultrasound, EUS) แต่เป็นเทคนิคการทำ EUS โดยประยุกต์เอากล้องส่องตรวจอัลตราซาวด์ทางหลอดลม (endobonchial ultrasound, EBUS) มาใช้แทน โดยใช้เทคนิควิธีการทำเหมือนกับการทำ EUS ทั่วไป ปกติแล้วการทำ EUS นั้นมีวิวัฒนาการเริ่มต้นมาจากอายุรแพทย์ทางเดินอาหารเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีการพัฒนากล้องส่องทางเดินหายใจมากขึ้น จึงมีการพัฒนา EBUS ขึ้นมาโดยพัฒนามาจาก EUS อีกที ในปัจจุบันการทำ EBUS เพื่อการวินิจฉัย และการตรวจระยะของโรคมะเร็งปอด และมะเร็งในช่องทรวงอกถือเป็นมาตรฐานที่แนะนำในแนวทางปฏิบัติทั่วไป1 เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีความไวและความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 93 และร้อยละ 100 ตามลำดับ2 นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยในการทำหัตถการค่อนข้างสูงโดยมีค่าเฉลี่ยการเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมที่ร้อยละ 1.233 และมีอัตราตายจากการทำหัตถการอยู่ที่ร้อยละ 0.014

ในปี พ.ศ.2550 มีการศึกษาที่รายงานถึงการใช้กล้อง EBUS ในการทำ EUS (EUS-B) ครั้งแรกในผู้ป่วยที่มีหลอดอาหารตีบแคบไม่สามารถใส่กล้องส่องทางเดินอาหารทั่วไปได้5 ต่อมาได้มีการศึกษาโดย Bin Hwangbo และคณะ6 ในปีพ.ศ.2552 ได้ทำ EUS-B ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ EBUS ได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น ก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถเข้าถึงได้จาก EBUS หรือปัจจัยข้อจำกัดของตัวผู้ป่วยเอง พบว่า EUS-B นั้นปลอดภัย ช่วยวินิจฉัยและเพิ่มหรือเปลี่ยนระยะของมะเร็งปอดได้ หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์และประยุกต์ใช้ EUS-B ในการวินิจฉัยและตรวจหาระยะของมะเร็งปอดร่วมกับการทำ EBUS มากขึ้น โดยพบว่าสามารถช่วยเพิ่มความไวและความจำเพาะในการตรวจได้ สามารถเข้าถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องอกที่ EBUS ไม่สามารถเข้าถึงได้ และสามารถลดอัตราการทำ mediastinoscopy ได้7 โดยมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจหาระยะของมะเร็งด้วยการผ่าตัด (surgical staging) นอกจากนี้ EUS ยังมีข้อดีกว่า EBUS อยู่บางประการซึ่งจะกล่าวต่อไป เป็นผลให้การทำ EUS-B ควบคู่ไปกับ EBUS เป็นที่ยอมรับ และมีการใช้ในเวชปฏิบัติมากขึ้นในปัจจุบัน

Read More

Airway Stents

PDF

บททบทวนวารสาร
Review Article

ภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อค้ำยันหลอดลม
Complications of Airway Stents

นาฎวิภา ยวงตระกูล พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ.

* แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ท่อค้ำยันหลอดลม (airway stents) เป็นอุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม (trachea) และแขนงหลอดลมใหญ่ (bronchi) วัตถุประสงค์เพื่อรักษาการตีบของหลอดลม ปิดรูรั่วระหว่างหลอดลมกับอวัยวะอื่น(fistula) หรือใช้ชั่วคราวหลังการผ่าตัดต่อหลอดลม ท่อค้ำยันหลอดลมผลิตจากวัสดุแตกต่างกัน ทำให้มีความแตกต่างทางกลศาสตร์ชีวภาพ (biomechanics)1 ดังแสดงในตารางที่ 1 ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของท่อค้ำยันหลอดลมแต่ละชนิด ซึ่งผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับรอยโรค นอกจากนี้คุณสมบัติทางกลศาสตร์ชีวภาพยังสามารถอธิบายการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากท่อค้ำยันหลอดลมได้

Read More

Sarcoidosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Pulmonary Sarcoidosis

Patcharin Harnthanakul, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis,
Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Introduction

Sarcoidosis is a granulomatous disease that affects a variety of populations.1 It was first described in 1869 by Jonathan Hutchinson, a British dermatologist who defined a 58-year-old coal wharf worker with purple, symmetrical skin plaques on legs and hands that were not painful. In 1897, a Norwegian dermatologist, Caesar Boeck, presented a patient with “multiple benign sarcoid of the skin” which histologically showed well-defined foci of epithelioid cells with giant cells2. Although, nearly 150 years later, the etiology of sarcoidosis remains unknown and the course of the disease is unpredictable. The immune pathogenesis involves a complex interaction between host, genetic factors and environmental or infectious triggers which produces granuloma formation. The disease can affect any organs but mostly involves the lungs and lymph nodes. The disease has a wide range of clinical manifestations, varies from asymptomatic patients with radiographic abnormalities to progressive disease causing morbidity and mortality. Treatment depends on the severity of the disease and organ involvement. This review summarizes the pathogenesis, clinical manifestation, pathological and radiological features, and management focusing on pulmonary sarcoidosis.

Read More

Pleural catheter

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

สายระบายทรวงอกชนิดฝังใต้ผิวหนัง 
(Tunneled pleural catheters)

สรายุทธ เอี่ยมสอาด พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ.

*แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

Tunneled pleural catheter (TPC) หรือ indwelling pleural catheter (IPC) คือ สายระบายทรวงอกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใส่คาไว้ได้เป็นเวลานาน ประโยชน์ที่สำคัญของการใส่สาย TPC นี้ คือช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและสามารถใส่แบบผู้ป่วยนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ปัจจุบันมีคำแนะนำในการใส่สาย TPC ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทั้งที่มีสาเหตุจากมะเร็งแพร่กระจายและไม่ใช่มะเร็งซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาจำเพาะ นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากด้วย

Read More

ILD in IIM

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Interstitial Lung Diseases in the Idiopathic Inflammatory Myopathies

Intira Masayavanich, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis
Department of Medicine
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Mahidol University

Introduction

Idiopathic inflammatory myopathies or myositis (IIM) are heterogeneous disorders characterized by varying degrees of muscle weakness and inflammation[1]. Lungs are the most common extramuscular involvement in IIM including respiratory muscle weakness, pulmonary hypertension, interstitial lung disease, and pleural effusion[2-3]. Interstitial lung disease (ILD) is the hallmark of pulmonary involvement that causes significant morbidity and mortality[2].

Read More

ปีที่ 38 ฉบับที่ 3

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Pulmonary Veno-occlusive Disease

วงศกร กัลยพฤกษ์ พ.บ.
แพทย์ประจำบ้านต่อยอด

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค  ภาควิชาอายุรศาสตร์  
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รับไว้ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9  กรกฎาคม  2562 

บทนำ

ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary hypertension, PH) คือภาวะที่มีค่าความดันเฉลี่ยหลอดเลือดแดงปอด (mean pulmonary artery pressure, mPAP) ในขณะพักสูงกว่าปกติ คือมากกว่า 20 มม.ปรอท จากการใส่สายสวนหัวใจซีกขวา (right heart catheterization, RHC) ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) โรคและความผิดปกติในหลายตำแหน่งของปอด หัวใจและหลอดเลือด สามารถส่งผลให้เกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงได้ 

Read More