การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) และบทบาทของบุคลากรผู้ช่วยแพทย์
มนฤทัย เด่นดวง พย.บ.
ห้องหัตถการวินิจฉัย สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อุรเวชช์ปฏิบัติ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560
PDF
บทนํา
การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) เป็นการส่องกล้องเข้าไปในหลอดลมโดยผ่านทางจมูกหรือปากของผู้ที่ได้รับการตรวจ มีข้อบ่งชี้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคของระบบการหายใจ ปัจจุบันกล้องสําหรับการส่องตรวจหลอดลมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ flexible bronchoscope (รูปที่ 1) และ rigid bronchoscope (รูปที่ 2) แพทย์อายุรกรรมโรคระบบการหายใจส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยใช้ flexible bronchoscope ทั้งเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยสามารถให้ยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่และระดับปานกลาง (conscious sedation) ได้ ส่วนการส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope นั้น มีข้อดีคือแพทย์สามารถทําหัตถการที่ซับซ้อนได้มากกว่า เช่น การนําก้อนเนื้อออกจากหลอดลม (tumor removal), การใส่ท่อหลอดลม (airway stent) เป็นต้น และแพทย์สามารถเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและช่วยหายใจขณะทําหัตถการได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope ทําได้ยากกว่าเนื่องจากต้องใช้ความชํานาญ และประสบการณ์ และเนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการดมยาสลบ จึงทําให้สามารถทําได้ในบางสถาบันเท่านั้น
Read More