Global warming

บทความในอดีต

ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพ

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

บทบรรณาธิการ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2553

PDF

ในช่วงหลายปีหลังนี้ เป็นที่สังเกตว่าโลกที่เราอาศัยนี้ ร้อนขึ้นอย่างชัดเจน สภาพภูมิอากาศมีความผันแปรเป็นอย่างสูง ประเทศไทยในบางช่วงเหมือนกับมีถึง 3 ฤดูกาลในเดือนเดียว ผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าวต่อสุขภาพของมนุษย์จะเป็นเช่นไร เป็นคําถามที่น่าสนใจ ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพไว้ดังนี้

  1. ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่โลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อสุขภาวะของประชากรโลกที่หลากหลาย ตั้งแต่การตายอันเนื่องมาจากอุณหภูมิของอากาศสูง ไปถึงการเปลี่ยนรูปแบบของโรคติดเชื้อบางโรค
  2. ภาวะอากาศแปรปรวนรุนแรงทําให้เกิดภัยพิบัติซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรโลกอย่างมากมาย ประมาณว่ากว่าหกแสนชีวิตทั่วโลกต้องสูญเสียไปเนื่องจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ในจํานวน นี้ ร้อยละ 95 เป็นประชากรในประเทศกําลังพัฒนา
  3. ความแปรปรวนของอุณหภูมิในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ว่าจะร้อนจัดหรือหนาวจัด เพิ่มอัตราตายจากโรคหัวใจและระบบการหายใจ พบว่าในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแถบยุโรปตะวันตกในปี ค.ศ. 2003 มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 70,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า[1]
  4. เกสรดอกไม้และสารก่อภูมิแพ้ทางอากาศอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นเช่นกันในภาวะอากาศที่อุณหภูมิสูง ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการกําเริบของโรคหืดที่มีจํานวนผู้ป่วยราว 300 ล้านคนทั่วโลก
  5. ประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ภายใน 60 กม. จากชายฝั่ง ระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนทําให้เกิดภาวะน้ําท่วมตามชายฝั่ง และทําให้เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางน้ํา และอาศัยพาหะ (water and vector-borne diseases) นอกจากนั้น การย้ายถิ่นฐานของประชากรยังทําให้เกิดภาวะเครียดได้
  6. ปริมาณน้ําฝนที่แปรปรวนทําให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ํา ซึ่งมีผลกระทบแล้วต่อประชากรโลก 4 ใน 10 คน ทําให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคท้องร่วงซึ่งเป็นสาเหตุการตายของประชากรราว 2 ล้านคนในแต่ละปี รวมทั้งโรคริดสีดวงตา (trachoma)
  7. การขาดแคลนน้ําทําให้ต้องใช้เวลาในการขนส่งจากที่ไกลๆ และมีการเก็บน้ําในครัวเรือนมากขึ้น ซึ่งนําไปสู่การปนเปื้อนของน้ํามากขึ้น
  8. โรคที่พบมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน เช่น โรคติดต่อทางน้ําหรืออาศัยพาหะเช่น ยุง โรคเหล่านี้ปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ เช่น โรคท้องร่วง มาลาเรีย ทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของประชากรกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2004 และกว่า 1 ใน 3 เกิดในทวีปแอฟริกา
  9. ภาวะโลกร้อนและปริมาณน้ําฝนที่แปรปรวนนําไปสู่ ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงในประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ในเขต ร้อนหลายแห่ง ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนอาหารอยู่แล้ว
  10. วิถีทางที่ช่วยลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ทางหนึ่ง คือการวางแผนการจราจรแบบประหยัด การเดิน หรือขี่จักรยาน นอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพตนเองแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศและลดอัตราการตายโดยรวมด้วย