New normal in spirometry

PDF

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

ความปกติใหม่ในการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรี
New Normal in Spirometric Procedures

สิมาพร พรมสาร วท.บ.
ภัทรพันธุ์ เลิศฤทธิ์วิมานแมน พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ที่องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้รับทราบและแจ้งถึงกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Disease 2019, COVID-19) ที่ได้แพร่ระบาดไปยังทั่วโลก1  มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 794,1791 คน2  ผู้เสียชีวิตมากกว่า 434,796 คน2  ในประเทศไทยได้เริ่มมีการแพร่ระบาดโดยแจ้งพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 25633  ผู้เสียชีวิตรายแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 25634 และการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านทางฝอยละออง5  ทางจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อ จากการไอ จาม หรือหายใจ โดยสามารถรับเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุเหล่านั้นที่มีเชื้อแล้วมาสัมผัสตา จมูกหรือปาก และการรับเชื้อโดยตรงจากการหายใจเอาฝอยละอองของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการหายใจ5

จากลักษณะและวิธีการของหัตถการ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของผู้รับการตรวจ ทำให้การตรวจสมรรถภาพปอดเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายของเชื้อในระดับที่ทำให้เกิดละอองลอย (Aerosol generating procedures, AGPs) และไม่ทำให้เกิดละอองลอย (Non-aerosol generating procedures, Non-AGPs) ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ ผู้รับการตรวจ รวมถึงผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มาทำการรักษาในโรงพยาบาล5 ที่อาจได้รับเชื้อดังกล่าวในระหว่างการตรวจโดยตรงและสัมผัสใกล้ชิด6  ดังนั้นการตรวจดังกล่าวจึงควรทำในกรณีที่สำคัญหรือเพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจในการรักษาอย่างเร่งด่วนเท่านั้น7-8  โดยหากจำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพปอด ควรคำนึงถึงการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ดังต่อไปนี้

Read More

COVID-19 Siriraj Experience

PDF

บทความพิเศษ
Special Article

ประสบการณ์ของศิริราชในการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก

นิธิพัฒน์  เจียรกุล พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค      ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่นานนักประเทศไทยที่เป็นเป้าหมายหลักหนึ่งของนักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หลังจากนั้นจึงค่อยมีการระบาดไปอย่างช้าๆ ภายใต้การควบคุมอย่างดีของกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งมีการระบาดอย่างรวดเร็วในระลอกแรกในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในชื่อใหม่ คือ “โควิด-19” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

SARS-CoV-2

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความใกล้เคียงของลักษณะทางพันธุกรรมกับเชื้อ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อสิบกว่าปีก่อน1 เชื้อนี้มี reservoir host คือ ค้างคาว โดยมีตัวนิ่มเป็น intermediate host 2 ในการเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นไวรัสนี้จะใช้ส่วน spike (S) protein จับกับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor3 นอกจากนี้ยังมีบทบาทของขั้นตอนอื่นในพยาธิกำเนิดของโรคที่มีความสำคัญในการค้นหาวิถีทางรักษาโรคนี้ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ endocytosis โดยอาศัย AP-2-associated protein kinase 1 (AAK1) หรือ กระบวนการ replication โดยใช้ RNA-dependent RNA polymerase (RDRp)4

ปรากฏการณ์หนึ่งที่พบในระหว่างการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คือ cytokine storm ซึ่งพบได้เช่นเดียวกับในผู้ป่วยโรคซาร์สและโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในช่วงการระบาดแรกๆ โดยเกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยบางรายในระยะหลังที่กำลังฟื้นตัวจากโรค และเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของการเกิด ARDS และ multiple organ dysfunction ที่ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี เชื่อว่าเกิดจาก CD4+T cells ที่ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จึงหลั่ง GM-CSF และ inflammatory cytokine อื่น ซึ่งจะไปกระตุ้น dendritic cell และ macrophage ทำให้มี high expression ของ IL-6 และ inflammatory biomarker อื่น5  

Read More

Sarcoidosis

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

Pulmonary Sarcoidosis

Patcharin Harnthanakul, M.D.

Fellow-in-Training
Division of Respiratory Disease and Tuberculosis,
Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Introduction

Sarcoidosis is a granulomatous disease that affects a variety of populations.1 It was first described in 1869 by Jonathan Hutchinson, a British dermatologist who defined a 58-year-old coal wharf worker with purple, symmetrical skin plaques on legs and hands that were not painful. In 1897, a Norwegian dermatologist, Caesar Boeck, presented a patient with “multiple benign sarcoid of the skin” which histologically showed well-defined foci of epithelioid cells with giant cells2. Although, nearly 150 years later, the etiology of sarcoidosis remains unknown and the course of the disease is unpredictable. The immune pathogenesis involves a complex interaction between host, genetic factors and environmental or infectious triggers which produces granuloma formation. The disease can affect any organs but mostly involves the lungs and lymph nodes. The disease has a wide range of clinical manifestations, varies from asymptomatic patients with radiographic abnormalities to progressive disease causing morbidity and mortality. Treatment depends on the severity of the disease and organ involvement. This review summarizes the pathogenesis, clinical manifestation, pathological and radiological features, and management focusing on pulmonary sarcoidosis.

Read More

Pleural catheter

บททบทวนวารสาร
Review Article

PDF

สายระบายทรวงอกชนิดฝังใต้ผิวหนัง 
(Tunneled pleural catheters)

สรายุทธ เอี่ยมสอาด พ.บ.*
ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร พ.บ.
แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา พ.บ.

*แพทย์เฟลโลว์ อนุสาขาหัตถการวินิจฉัยและรักษาโรคระบบการหายใจ
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

Tunneled pleural catheter (TPC) หรือ indwelling pleural catheter (IPC) คือ สายระบายทรวงอกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใส่คาไว้ได้เป็นเวลานาน ประโยชน์ที่สำคัญของการใส่สาย TPC นี้ คือช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดและสามารถใส่แบบผู้ป่วยนอกได้โดยไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ปัจจุบันมีคำแนะนำในการใส่สาย TPC ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทั้งที่มีสาเหตุจากมะเร็งแพร่กระจายและไม่ใช่มะเร็งซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาจำเพาะ นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากด้วย

Read More

Pulmonary Function Test

SpiroThai 3.0 และ 4.0

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่อง spirometry นั้นมีประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของการทำงานของระบบการหายใจ แต่การแปลผลต้องอาศัยการเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน ซึ่งค่ามาตรฐานนี้แปรผันตามเชื้อชาติ เพศ อายุ และความสูง โดยสามารถคำนวณได้จากสมการที่ได้จากการศึกษาวิจัย สำหรับประชากรไทยนั้น ในปัจจุบันใช้ค่ามาตรฐาน Siriraj equations ที่ได้จากการสำรวจในประชากรไทยที่สุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ (พ.ศ. 2543) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในประชากรหลากหลายเชื้อชาติ (โดยมีข้อมูลจากการสำรวจที่ใช้ใน Siriraj equations รวมอยู่ด้วย) และใช้กระบวนการทางสถิติสมัยใหม่ (GAMLSS) ทำให้ได้สมการที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดสำหรับประชากรทั่วโลก เรียกว่า Global Lung Initiative (GLI)-2012 แต่เนื่องจากสมการนี้มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการคำนวณ จึงยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนักโดยเฉพาะในประเทศไทย โปรแกรม SpiroThai 3.0 หรือ 4.0 นี้จะช่วยให้สามารถคำนวณค่ามาตรฐานสมรรถภาพปอดในประชากรไทย โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจากสมการของ GLI-2012 และของ Siriraj equations นอกจากนั้นยังเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับบันทึกผลการตรวจ การแปลผล และรายงานผลการตรวจด้วย

Read More

Article appraisal

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice
PDF

Easy Tricks in Article Appraisal

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทนำ

แพทย์ในยุคปัจจุบันรวมทั้งในอนาคตอยู่ในโลกของข้อมูลข่าว­สาร ซึ่งในบริบทของวิชาชีพแพทย์ องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะถูกนำเสนอในรูปแบบของบทความในวารสารวิชาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องง่าย­ดาย แต่สิ่งที่ยากและสำคัญสำหรับแพทย์มากกว่าก็คือ ทักษะในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มา มีบทความตีพิมพ์ที่แนะนำวิธีการดังกล่าวอยู่หลายชิ้น[1] แต่บทความนี้จะนำเสนอวิธีการอย่างง่ายๆ เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินข้อมูลวิชาการดังกล่าว สำหรับแพทย์ทั่วไปเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะดังกล่าวต่อไป ในที่นี้จะเน้นหนักสำหรับงานวิจัยในรูปแบบ interventional study ซึ่งเป็นประเภทที่แพร่หลายในปัจจุบัน

Read More

Global warming

บทความในอดีต

ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพ

วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย พ.บ.

บทบรรณาธิการ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2553

PDF

ในช่วงหลายปีหลังนี้ เป็นที่สังเกตว่าโลกที่เราอาศัยนี้ ร้อนขึ้นอย่างชัดเจน สภาพภูมิอากาศมีความผันแปรเป็นอย่างสูง ประเทศไทยในบางช่วงเหมือนกับมีถึง 3 ฤดูกาลในเดือนเดียว ผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าวต่อสุขภาพของมนุษย์จะเป็นเช่นไร เป็นคําถามที่น่าสนใจ ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่ความจริงสิบประการเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาพไว้ดังนี้

Read More

Bronchoscopy

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) และบทบาทของบุคลากรผู้ช่วยแพทย์

มนฤทัย เด่นดวง พย.บ.
ห้องหัตถการวินิจฉัย สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อุรเวชช์ปฏิบัติ
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560
PDF

บทนํา

การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) เป็นการส่องกล้องเข้าไปในหลอดลมโดยผ่านทางจมูกหรือปากของผู้ที่ได้รับการตรวจ มีข้อบ่งชี้ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคของระบบการหายใจ ปัจจุบันกล้องสําหรับการส่องตรวจหลอดลมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ flexible bronchoscope (รูปที่ 1) และ rigid bronchoscope (รูปที่ 2) แพทย์อายุรกรรมโรคระบบการหายใจส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยใช้ flexible bronchoscope ทั้งเพื่อการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยสามารถให้ยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่และระดับปานกลาง (conscious sedation) ได้ ส่วนการส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope นั้น มีข้อดีคือแพทย์สามารถทําหัตถการที่ซับซ้อนได้มากกว่า เช่น การนําก้อนเนื้อออกจากหลอดลม (tumor removal), การใส่ท่อหลอดลม (airway stent) เป็นต้น และแพทย์สามารถเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและช่วยหายใจขณะทําหัตถการได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องด้วย rigid bronchoscope ทําได้ยากกว่าเนื่องจากต้องใช้ความชํานาญ และประสบการณ์ และเนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการดมยาสลบ จึงทําให้สามารถทําได้ในบางสถาบันเท่านั้น

Read More

Quiz 1

บทความในอดีต

Pulmonary Quiz 1

พิชญา เพชรบรม

วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2553
PDF

ประวัติ

ชายไทยคู่อายุ 30 ปี ภูมิลำเนา จ. เชียงราย อาชีพ รับจ้างทำสวนดอกรักที่ จ. สมุทรสาคร
อาการสำคัญ: ไอเป็นเลือด 2 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติปัจจุบัน: 10 เดือนก่อน ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณชายโครงขวา ไอเสมหะสีเหลืองข้นมีเลือดปนสีน้ำตาลเล็กน้อย มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 4 กก. มีอาการอยู่ 1 เดือน มาตรวจที่โรงพยาบาลพบ right pleural effusion แพทย์ได้ตรวจ ultrasonography พบว่า pleural effusion มีปริมาณน้อย ไม่สามารถทำ thoracentesis ได้ ให้การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็น tuberculous pleuritis ให้การรักษาด้วยยาต้านวัณโรค 2HRZE/4HR หลังได้ยาอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่ยังไอมีเสมหะสีเหลือง
2 สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยไอเป็นเลือดเก่าๆ สีน้ำตาล 1 แก้วน้ำ ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อยหอบ น้ำหนักลดลง 3 กก. ต่อมายังไอมีเลือดเก่าๆ ปริมาณไม่มากปนเสมหะสีเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะปกติดี
ประวัติอดีต: เดิมแข็งแรงดี ไม่เคยเจ็บป่วยรุนแรง
ประวัติส่วนตัว: ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรานานๆ ครั้ง
ประวัติครอบครัว: แต่งงานแล้วมีบุตร 2 คน ไม่มีคนในครอบครัวมีอาการเหมือนผู้ป่วย

Read More

Inhaler Device

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้ยาสูด

ดุษญา วนิชเวทย์พิบูล ภ.บ.

บททบทวนวารสาร
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต
ปีท่ี 37 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561
PDF

บทนำ

ยาสูด จัดเป็นยาเทคนิคพิเศษที่มีวิธีใช้เฉพาะ หรือต้องมีทักษะในการใช้ โดยในปัจจุบันได้มีการนำยาสูดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งชนิดที่เป็นยาขยายหลอดลม สำหรับบรรเทาอาการ และยาลดการอักเสบของหลอดลม ซึ่งยาประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยที่จะสามารถใช้ยาสูดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม[1] อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลจากหลายการศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีปัญหาในด้านเทคนิคการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง[2,3] ส่งผลให้ยาเข้าถึงตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี และมีผลต่อการควบคุมโรคและประสิทธิภาพการรักษา โดยพบว่าสามารถทำให้เกิดการรักษาล้มเหลวและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น[4,5] ดังนั้น การเข้าใจเทคนิควิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและให้คำแนะนำที่เพียงพอเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ยาสูด จะสามารถทำให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น

Read More