CPAP clinic during covid-19 pandemic

เวชปฏิบัติ
Clinical Practice

บทบาทของนักตรวจการนอนหลับ ในด้านการให้บริการ CPAP Clinic จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

กุสุมา มามณี วท.บ.
ธวัชชัย แพนอุชชวัน วท.ม.
ภคณัช พรมเคียมอ่อน วท.บ.

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้จัดตั้งคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (CPAP Clinic) ให้การบริการเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure, CPAP) ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจผิดปกติที่สัมพันธ์กับการหลับ (sleep-related breathing disorders) โดยอุบัติการณ์ (incidence) ที่พบมากเป็นผู้ป่วยที่มีการกรน (snoring) และ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) แต่เนื่องด้วยช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ต่างไปจากวิถีเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานพยาบาลจำเป็นต้องมี มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช ได้เล็งเห็นความสำคัญ นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ภายใต้มาตรฐานการบริการที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยจากการติดเชื้อให้แก่ผู้รับบริการ บทความนี้จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงบทบาทของนักตรวจการนอนหลับในการให้บริการ CPAP Clinic ในรูปแบบใหม่

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19  พบผู้คนเจ็บป่วย เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สร้างความสูญเสียให้กับสังคมโลก ผู้คนต้องปรับตัวหาสิ่งป้องกัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำว่า New Normal จึงเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาในสังคม ราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมาย New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ ที่คนในสังคมคุ้นเคย อย่างเป็นปกติ และเคยคาดหมาย ล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย 1

ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช นอกจากมีการให้บริการ การตรวจการนอนหลับอย่างครบวงจรแล้ว ยังมีบริการคลินิกเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “Continuous Positive Airway Pressure: (CPAP)”2  ให้บริการยืม-คืน CPAP และอุปกรณ์, ถอดข้อมูล CPAP เพื่ออ่านผล, ซื้ออุปกรณ์, ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน, ตลอดจนการซ่อมบำรุง  ซึ่งมีผู้ป่วยมารับบริการมากกว่า 70 คนต่อวัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการหลักกับการบริการทางการแพทย์ ปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นักตรวจการนอนหลับจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การให้บริการที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้มาใช้บริการ

Read More

COVID-19 Siriraj Experience

PDF

บทความพิเศษ
Special Article

ประสบการณ์ของศิริราชในการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก

นิธิพัฒน์  เจียรกุล พ.บ.
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค      ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทนำ

ภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่นานนักประเทศไทยที่เป็นเป้าหมายหลักหนึ่งของนักท่องเที่ยวจีนเริ่มมีผู้ป่วยรายแรก หลังจากนั้นจึงค่อยมีการระบาดไปอย่างช้าๆ ภายใต้การควบคุมอย่างดีของกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งมีการระบาดอย่างรวดเร็วในระลอกแรกในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในชื่อใหม่ คือ “โควิด-19” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

SARS-CoV-2

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความใกล้เคียงของลักษณะทางพันธุกรรมกับเชื้อ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อสิบกว่าปีก่อน1 เชื้อนี้มี reservoir host คือ ค้างคาว โดยมีตัวนิ่มเป็น intermediate host 2 ในการเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นไวรัสนี้จะใช้ส่วน spike (S) protein จับกับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor3 นอกจากนี้ยังมีบทบาทของขั้นตอนอื่นในพยาธิกำเนิดของโรคที่มีความสำคัญในการค้นหาวิถีทางรักษาโรคนี้ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ endocytosis โดยอาศัย AP-2-associated protein kinase 1 (AAK1) หรือ กระบวนการ replication โดยใช้ RNA-dependent RNA polymerase (RDRp)4

ปรากฏการณ์หนึ่งที่พบในระหว่างการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คือ cytokine storm ซึ่งพบได้เช่นเดียวกับในผู้ป่วยโรคซาร์สและโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในช่วงการระบาดแรกๆ โดยเกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยบางรายในระยะหลังที่กำลังฟื้นตัวจากโรค และเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของการเกิด ARDS และ multiple organ dysfunction ที่ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี เชื่อว่าเกิดจาก CD4+T cells ที่ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จึงหลั่ง GM-CSF และ inflammatory cytokine อื่น ซึ่งจะไปกระตุ้น dendritic cell และ macrophage ทำให้มี high expression ของ IL-6 และ inflammatory biomarker อื่น5  

Read More