Smear positive TB

นิพนธ์ต้นฉบับ
Original Article

PDF

แนวโน้มอัตราผู้ป่วยวัณโรคที่เสมหะตรวจพบเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา
ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปี 2554-2560

สุพิศ  โพธิ์ขาว วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)

กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุ

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของการสาธารณสุขในประเทศไทย นับวันการแพร่เชื้อยิ่งทวีความรุนแรง ทำให้ลุกลามออกเป็นวงกว้าง เป็นผลให้ยับยั้งยาก การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคด้วยการตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ นำพาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน คือ การป้องกันและการลดการแพร่กระจายเชื้อที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อAFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดา ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมุดทะเบียนวัณโรค (TB04), โปรแกรม MLAB2000 และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลด้วย ตาราง กราฟ และแผนภูมิผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 อัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.95 เป็นร้อยละ 11.18 และร้อยละ 11.28 ส่วนในระหว่างปีงบประมาณ 2557 ถึง 2559 อัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 10.90 เป็นร้อยละ 10.16 และร้อยละ 9.10 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2560 อัตราผู้ป่วยกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.45 พร้อมยังพบว่าอัตราผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิงในทุกปีงบประมาณ โดยที่อัตราผู้ป่วยเพศชายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราผู้ป่วยเพศหญิงมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราผู้ป่วยช่วงอายุ 35-44 ปี มีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ รองลงมาคือช่วงอายุ 54 ปีขึ้นไป และช่วงอายุ 25-34 ปี ตามลำดับอัตราผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดธรรมดาในแต่ละปีงบประมาณไม่แตกต่างกันมากนัก โดยแต่ละปีงบประมาณพบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 9-11 โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนไทย   เพศชายต่อหญิงประมาณ 2.5 : 1 ส่วนผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว เพศชายต่อหญิงประมาณ1.2 : 1 อนึ่ง ช่วงอายุของผู้ป่วยที่เสมหะตรวจพบเชื้อ AFB สูงสุดคือช่วงอายุ 25-44 ปี แต่ก็พบแนวโน้มการตรวจพบเชื้อ AFB เพิ่มขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

Read More

Thai Guidelines

tb_cpg61แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษา ผู้ป่วยวัณโรค ในประเทศไทย
พ.ศ. 2561
กระทรวงสาธารณสุข
สมาคมโรคติดเชื้อฯ
สมาคมอุรเวชช์ฯ
สมาคมปราบวัณโรคฯ
คำแนะนำเรื่องการวินิจฉัยและรักษา การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent Tuberculosis Infection) พ.ศ. 2562กองวัณโรค
กรมควบคุมโรค
แนวทางการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ด้วยสูตรยาระยะสั้น 9 เดือนสำนักวัณโรค
กรมควบคุมโรค 
กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย
พ.ศ. 2561
สำนักวัณโรค
กรมควบคุมโรค 
กระทรวงสาธารณสุข
ข้อแนะนำในการดูแลรักษา
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
พ.ศ. 2560
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ
แนวทางการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ